5 สมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    6,694    2    27 ก.ค. 2559 : น.   
แบ่งปัน
ปกติคนจะมีระดับความดันโลหิต 120/80 แต่ถ้าสูงกว่า 140/90 แสดงว่าเป็น “โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)” ซึ่งเราสามารถรับประทาน สมุนไพร 5 ชนิด เพื่อช่วยลดความดันได้ คือ 

1. กระเจี๊ยบแดง... กระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยวหวาน สามารถลดความดันโลหิตได้ เพราะมีสาร “แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด โดยนำกลีบเลี้ยงที่แห้ง ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อน ดื่มเป็นชาวันละ 2-3 ครั้ง จะสามารถลดความดันโลหิต diastolic ลงได้ร้อยละ 7.2-13 เลยทีเดียว และยังช่วยลดคอเลสเตอรอล แก้นิ่ว และลดไข้ ขับยูริค บำรุงไตและหัวใจได้

2. ขึ้นฉ่าย... เป็นผักที่ช่วยลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดอาการบวม คุมกำเนิด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ขับระดู โดยนำต้นขึ้นฉ่ายสดๆ มาตำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำต้นขึ้นฉ่ายสด 1-2 กำมือ ตำให้ละเอียด ต้มกับน้ำ แล้วกรองเอากากออก รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหาร หรือจะรับประทานขึ้นฉ่าย วันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ

3. บัวบก...เป็นพืชสมุนไพร มีฤทธิ์ที่ช่วยในการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยไหลเวียน และยังช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตได้ โดยการนำต้นสดจำนวน 1-2 กำมือ มาต้ม แล้วคั้นเอาแต่น้ำ ดื่มเป็นประจำ จะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้

4. คาวตอง หรือพลูคาว...เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน Atherosclerosis และมะเร็ง โดยนำมารับประทานกับน้ำพริก ลู่ ลาบ หรือใช้รากต้มกับปลาไหล รากตำเป็นน้ำพริกกิน

5. มะรุม...เป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ซึ่งส่วนของใบและรากจะมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B โดยนำรากของมะรุมมาต้มกินเป็นซุป, นำยอดมาต้มกิน, นำรากมะรุมต้มกับรากย่านาง แล้วรับประทานด้วยกัน, นำยอดมะรุมสด (ยอดอ่อนหรือยอดแก่) มาโขลกคั้นเอาน้ำ (พอให้เหลวข้น) แล้วผสมน้ำผึ้งพอหวาน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว สามารถลดความดันโลหิตสูงได้ แต่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วยและควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเป็นประจำตามนัดสม่ำเสมอ  
สาระน่ารู้อื่นๆ