โรคที่หลายคนกังวล “น้ำในหูไม่เท่ากัน”

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    24,019    14    5 พ.ค. 2560 14:18 น.   
แบ่งปัน

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกเวียนศีรษะ คล้ายบ้านหมุนโดยไม่รู้สาเหตุ และคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อลุกขึ้นยืนก็แทบจะล้มลงไปนั่งบนพื้นไหมค่ะ อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าข่ายการเป็น "โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" แล้วค่ะ

"โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน" (โรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ) เกิดจากความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ ทำให้หูชั้นใน (ทำหน้าที่รับเสียง และรับการทรงตัว) ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดย Endolymph มีเกลือแร่สำคัญ คือ โปแตสเซียม ถ้าไปปนกับน้ำส่วนอื่น ๆ หูจะทำงานไม่ได้ และทำให้เยื่อต่าง ๆ ในหูชั้นในแตก
 
หูคนเราประกอบด้วยหูชั้นนอก, หูชั้นกลางและหูชั้นใน ซึ่งหูชั้นในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายก้นหอยทำหน้าที่รับเสียง กับส่วนที่เป็นอวัยวะรูปเกือกม้า 3 อัน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
 
นอกจากนี้ หูชั้นใน สามารถแบ่งตามโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน ภายในส่วนเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่ เมื่อเกิดพยาธิสภาพของโรคมีเนีย ของเหลวที่อยู่ภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นใน จะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาท เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและสมดุล รวมทั้วเกิดอาการเวียนศีรษะเมื่อแรงดันมากขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกตึง ๆ ในหูข้างที่ผิดปกติ
 
อาการ

1. อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน จะเกิดอาการ ประมาณ 20 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง เมื่อหายเวียนศีรษะผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนเป็นปกติ
2. หูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวร ระยะแรกการสูญเสียการได้ยินจะเป็นแค่ชั่วคราว หลังจากหายเวียนศีรษะ แล้วการได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ
3. เสียงดังในหู ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูข้างผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นตลอดเวลาหรือเป็นขณะเวียนศีรษะ
4. อาการตึง ๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน...เกิดจากแรงดันของน้ำในหูชั้นในที่ผิดปกติ
 
การรักษา
ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบ โดยจะให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการ บวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือด ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ
 
การป้องกัน
- ลดภาวะเครียด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ในที่ที่มีเสียงดัง แสงแดดจ้าหรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
- ควบคุมอาหาร โดยการลดอาหารที่มีรสเค็ม โดยจำกัดเกลือ แนะนำให้เติมเกลือลงในอาหารวันละไม่เกิน 2 กรัม แทนค่ะ
 
สาระน่ารู้อื่นๆ