สละ ผลไม้รสเปรี้ยวอมหวาน

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    8,186    2    5 พ.ค. 2560 13:15 น.   
แบ่งปัน

เมื่อก่อนนี้ฉันแยกไม่ออกระหว่าง สละกับระกำ เนื่องจากผลไม้ ทั้ง 2 ชนิดนี้คล้ายกันอย่างกับแกะ ซึ่งความแตกต่างอยู่ที่ระกำนั้นจะมีผลป้อมกว่า และมีรสเปรี้ยวจัด ส่วนสละผลจะเรียวแหลมและมีรสหวานอมเปรี้ยว แต่ทั้งระกำและสละนั้นนำมาปรุงเป็นอาหารไทยอร่อยอย่าบอกใครเชียว

“สละ” เป็นพืชในวงศ์ปาล์ม และอยู่ในสกุลเดียวกับระกำ เป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซียและมีการปลูกทั่วประเทศ ลักษณะต้นเป็นทรงพุ่มคล้ายระกำ จะมีหนามแหลมแข็ง ออกตามก้านใบ ดอกแยกเพศ สีน้ำตาล ออกผลเป็นทะลายเรียก “คาน” ในแต่ละคานมีทะลายย่อยเรียก “กระปุก” ลักษณะผลของสละเป็นทรงยาวรี ผลอ่อนสีน้ำตาล เปลือกเป็นเกล็ดซ้อนกัน ผลแก่กลายเป็นสีแดงอมน้ำตาล บนผลมีขนแข็ง สั้น คล้ายหนาม ลักษณะของผลสละที่ ต่างจากผลระกำคือมีเมล็ดเล็กกว่า สีเมล็ดเป็น สีน้ำตาลเข้มกว่า เนื้อสละเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนเนื้อระกำเป็นสีเหลืองอมส้ม สละมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

ในสละอัดแน่นด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีการศึกษาในมหาวิทยาลัย Sabah ของมาเลเซีย ได้ตีพิมพ์ ในวารสารทางวิชาการ Nutrition & Food Science พบว่า ในสละมีสารฟีโนลิก และสารฟลาโวนอยด์  อันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ  ช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ โรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์จากสารอนุมูลอิสระ รวมทั้งชะลอการเกิดริ้วรอย ก่อนวัยอีกด้วย นอกจากนั้นยังช่วยบำรุงสายตา เพราะมีสารเบต้าแคโรทีนในระดับที่สูงเทียบเท่ากับแคร์รอต รวมถึงมีวิตามิน A ช่วยรักษาอาการตาบอดกลางคืน เพิ่มความคมชัดในการมองเห็นสำหรับผู้ที่มีอาการสายตาสั้น บรรเทาอาการเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหรือเล่นกีฬาได้ดี ทั้งยังช่วยลดอาการอักเสบภายในร่างกายที่เกิดมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มากไปด้วยไฟเบอร์ แทนนิน หรือวิตามิน C ทำให้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วนอกจากจะได้ประโยชน์ก็ยังช่วยให้อิ่มท้อง พร้อมกระตุ้นระบบการทำงาน ของลำไส้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้อง รับประทานในประมาณที่พอเหมาะ เนื่องจากในสละมีปริมาณแคลอรีอยู่ที่ 60 แคลอรีต่อ 100 กรัม เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง

Tip : วิธีปอกเปลือกสละ เทคนิคง่าย ๆ ก็คือต้องปอกเปลือกจากปลายหางแล้วบิดเฉียง ตามรูป จะทำให้ลูกสละที่อยู่ด้านในไม่สกปรกด้วยหนามของเปลือกสละ และวิธีนี้ก็ทำให้ไม่โดนหนามของเปลือกสละทิ่มหรือตำมือด้วย
 
สาระน่ารู้อื่นๆ