"มะเฟือง" เป็นผลไม้ที่มีรูปทรงกระสวย เมื่อหั่นเป็นแนวขวางจะเป็นรูปเหมือนดาวห้าแฉก ผลสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีเหลือง มีรสชาติเปรี้ยวแบบเผื่อนๆ หรือรสหวาน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ มะเฟืองสุกน้ำหนัก 100 กรัม จะมีคาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม, โปรตีน 1 กรัม, โพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม, วิตามินC 35 มิลลิกรัม,ฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม ซื่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อาทิ วิตามินB5, B9 (หรือกรดโฟลิก) ธาตุสังกะสี และไขมัน
ส่วนต่างๆ ของมะเฟือง มีประโยชน์มากมาย ได้แก่
-
ใบ แก้ไข้หวัด ปัสสาวะขัด แก้ปวด ถ้าใช้ใบยอดของมะเฟือง รากหมาก และรากมะพร้าว มาต้มผสมกัน จนเป็นน้ำดื่ม สามารถใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ได้ และถ้าใช้ใบมะเฟื่องมาต้มน้ำอาบ จะช่วยแก้ตุ่มคัน แก้เจ็บเส้นเอ็นได้อีกด้วย
-
ใบและยอด...เมื่อมาบดละเอียด แล้วนำมาทาตามตัว สามารถรักษาโรคอีสุกอีใสได้
- ดอก นำมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มแก้ถอนพิษเฮโรอีน และแก้ไข้ได้
- ผล รับประทานสดใช้แก้คอแห้ง ลดการอักเสบ บวม แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ และขับนิ่ว แก้บิด ขับระดู (แต่ไม่ควรรับประทานประจำหรือบ่อยเกินไป) ใช้สระผมได้ดี บำรุงเส้นผม กำจัดรังแค
- เมล็ด ใช้แก้ปวด ทำให้นอนหลับ ทำให้อาเจียน แก้ดีซ่าน
- ราก ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ลดอาการจุกแน่นหน้าอก โดยการนำรากมะเฟืองตากแห้ง 5 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ แล้วดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น
- แก่นและราก นำมาต้มกินแก้ท้องร่วง แก้เจ็บเส้นเอ็น
- ยอด นำมาต้มผสมกับรากมะพร้าว ดื่มแก้ไข้หวัดใหญ่
สำหรับผู้ป่วยโรคไต หากรับประทานมะเฟืองมากเกินไป จะทำให้ผลึกนิ่วออกซาเลตผลึกนิ่วจำนวนมาก ซึ่งจะตกตะกอนหรืออุดตันในเนื้อไตและท่อไต และอาจทำให้ไตวายหรืออาจสูญเสียการทำงานไปได้ เพราะสารออกซาเลตในมะเฟืองจะจับตัวกับแคลเซียมที่อยู่ในไต แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย แต่ขั้นอยู่กับปริมาณที่รับประทานและภาวะพร่องและขาดน้ำในผู้ป่วย มะเฟืองเปรี้ยวมีโอกาสเกิดโรคมากกว่ามะเฟืองชนิดหวาน เพราะมีปริมาณกรดออกซาลิกมากกว่า