แกร็บ ผุดฟีเจอร์ใหม่ ชวนผู้ใช้บริการร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พร้อมเปิดตัวรายงานความยั่งยืนฉบับแรก
เนื่องในวันปลอดมลพิษโลก (Zero Emission Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี แกร็บ ประเทศไทย โดย วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการบริหาร ชวนผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อใช้บริการการเดินทางกับแกร็บ ผ่านฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถกดเลือกเพื่อบริจาคเงิน 2 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือ 1 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ เพื่อสมทบในโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทย โดย แกร็บ ประเทศไทย จะร่วมมือกับ Conserve Natural Forests (CNF) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าธรรมชาติ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ |
แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนในทุกครั้งที่เดินทางกับแกร็บ ด้วยการแนะนำฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถร่วมบริจาคเงินสมทบในโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ พร้อมเปิดตัวรายงานการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social & Governance) หรือ ESG Report ฉบับแรก ซึ่งนับเป็นการประกาศความมุ่งมั่นของบริษัทในการส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างผลประกอบการทางธุรกิจที่ดีไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ แกร็บได้เปิดตัวฟีเจอร์พิ
เศษสำหรับบริการการเดินทางเพื่
อชดเชยคาร์บอนในประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย
โดยผู้ใช้บริการสามารถกดเลือกบริจาคเงิน 2 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือ 1 บาทต่อเที่ยวการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ เพื่อสมทบเข้าโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ในประเทศไทย ซึ่งจะดำเนินงานโดย Conserve Natural Forests (CNF) ซึ่งเป็นองค์กรไม่
แสวงหากำไรในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีภารกิจหลักในการฟื้นฟูภูมิ
ทัศน์ป่าธรรมชาติในประเทศไทย รวมถึงการปกป้องและส่งเสริ
มการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
ผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมการบริ
จาคเพื่อชดเชยคาร์บอนครบ 50 ครั้งขึ้นไปในทุกๆ ไตรมาสจะได้รับการแจ้งเตือนผ่
านทางอีเมลหรือแอปพลิเคชัน Grab ว่าคุณได้รับต้นไม้ที่จะนำไปปลู
กในป่า “GrabforGood” ซึ่งดำเนินการโดย Ecomatcher ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่
ยวชาญในด้านการปลูกต้นไม้ซึ่
งได้รับการรับรองในระดับสากล โดยคุณสามารถตั้งชื่อ ติดตามการเติบโตของต้นไม้ หรือแม้กระทั่งดูข้อมู
ลของเกษตรกรที่ปลูกต้นไม้นั้นๆ ได้ผ่านทางแพลตฟอร์ม EcoMatcher Treetracker โดยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติ
มได้ทาง
grab.com/th/blog/co2neutral/
นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ แกร็บยังได้เปิดตั
วรายงานการดำเนินงานด้านสิ่
งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social & Governance หรือ ESG) ฉบับแรก
โดยนายแอนโทนี ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งแกร็บ เผยว่า
“ธุรกิจของแกร็บนั้นมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์โดยตรงกับชีวิตความเป็นอยู่และสวัสดิภาพที่ดีของคนในสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แกร็บจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการส่งเสริมและสนับสนุนพาร์ทเนอร์คนขับและพาร์ทเนอร์ร้านค้าของเราให้มีโอกาสในการเข้าถึงรายได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป รายงาน ESG ฉบับแรกของแกร็บนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินธุรกิจของเรา ที่ไม่ได้มุ่งแค่การสร้างความสำเร็จในเชิงธุรกิจ แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและขับเคลื่อนชีวิตของผู้คนในสังคม ด้วยความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่มีต่อคนกลุ่มต่างๆ ในวงจรธุรกิจของเรา”
สำหรับ รายงาน ESG ฉบับแรกของแกร็บครอบคลุมหัวข้อสำคัญต่างๆ ตามมาตรฐาน GRI หรือ Global Reporting Initiative อาทิ ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม การสนับสนุนความหลากหลายและการยอมรับในความแตกต่าง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม โดยมีไฮไลท์สำคัญ ได้แก่
- พาร์ทเนอร์คนขับและพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 225,780 ล้านบาท ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บในปี 2563
- 46% ของพาร์ทเนอร์คนขับที่ร่วมตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ก่อนที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บ
- 33% ของพาร์ทเนอร์ร้านอาหารเริ่มจำหน่ายอาหารผ่านช่องทางออนไลน์เป็นครั้งแรกกับแกร็บ
- ผู้ประกอบการขนาดเล็กเกือบ 600,000 รายเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ของแกร็บเพื่อจำหน่ายอาหารและสินค้าผ่านบริการแกร็บฟู้ดและแกร็บมาร์ท ในปี 2563
- 59% ของผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากแกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ในปี 2563 เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่เข้าถึงโอกาสทางการเงิน
- พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บกว่า 1.7 ล้านคนผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมต่างๆ ของแกร็บ อาทิ ความรู้ด้านดิจิทัล การปกป้องข้อมูล ความรู้ทางการเงิน คอร์สสื่อสารภาษาอังกฤษ เป็นต้น
- ปริมาณขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวลดลงจากการงดใช้ช้อนส้อมพลาสติกรวม 380 ล้านชุด