เคล็ดลับที่เชฟอยากบอกต่อ! เทคนิคการเลือกเนื้อออสเตรเลีย เนรมิตเมนูเด็ดที่บ้านให้เหมือนร้านเนื้อหรู

1    1,073    9    4 ส.ค. 2564 16:54 น.   
แบ่งปัน

เคล็ดลับที่เชฟอยากบอกต่อ! เทคนิคการเลือกเนื้อออสเตรเลีย เนรมิตเมนูเด็ดที่บ้านให้เหมือนร้านเนื้อหรู

   บรรดาเชฟชั้นนำต่างรู้ดีว่า ขั้นตอนแรกของการปรุงอาหารคือการเลือกสรรวัตถุดิบคุณภาพดี โดยเฉพาะเมนูที่มีเนื้อเป็นตัวชูโรง ยิ่งต้องใส่ใจเลือกวัตถุดิบจากแหล่งผลิตเนื้อที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับในวงการอาหารโลก และเนื้อออสเตรเลียก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเนื้อชื่อดังไว้วางใจ เพราะมีชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เลือกหลากหลาย ทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากการทำปศุสัตว์แบบธรรมชาติ ทำให้ได้เนื้อคุณภาพเยี่ยมที่มอบรสชาติอร่อย เข้มข้น และให้กลิ่นหอมหวนเป็นเอกลักษณ์ที่เนื้อจากแหล่งอื่น ๆ ให้ไม่ได้
 
เมื่อพูดถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเนื้อในเมืองไทย หลายคนคงนึกถึงเชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม ผู้เจนจัดในเรื่องศาสตร์ของเนื้อทุกส่วนตั้งแต่หัวยันหางและเป็นเชฟชื่อดังที่ปรากฏตัวตามสื่อชั้นนำมากมาย และเมื่อเร็ว ๆ นี้ เชฟแพมยังได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์เนื้อของรัฐบาลออสเตรเลีย (Meat & Livestock Australia – MLA) ให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ True Aussie Beef คนแรกของประเทศไทย และหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเชฟแพมมีเชื้อสายออสซี่ ซึ่งทำให้เธอรู้สึกผูกพันกับรสชาติและความเป็นออสเตรเลียอย่างลึกซึ้ง
 
“การรู้แหล่งวัตถุดิบเนื้อวัวถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เราต้องรู้ว่าสัตว์ถูกเลี้ยงมาด้วยอะไรและสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงนั้นเป็นอย่างไร เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลถึงเนื้อสัมผัสและรสชาติของเนื้ออย่างมาก ในฐานะเชฟ เราก็อยากให้แต่สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าเท่านั้น ซึ่งถ้าพูดถึงเนื้อออสเตรเลียแล้ว ชิ้นส่วนที่แพมชอบมากที่สุดก็คือส่วนออยสเตอร์เบลด (ส่วนใบพาย)” เชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม กล่าว
 
เมื่อทราบแหล่งผลิตเนื้อและอาหารที่ใช้เลี้ยงวัว คุณย่อมรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการเลือกเนื้อชิ้นนั้นมาปรุงเป็นเมนูโปรดที่บ้าน หรือแม้แต่การเลือกรับประทานเมนูเนื้อในร้านอาหาร แต่เพราะเหตุใดเนื้อจากออสเตรเลียจึงมีคุณภาพดีจนทำให้เชฟแถวหน้ามั่นใจเลือกใช้ปรุงเป็นเมนูเด็ดบนโต๊ะอาหารของพวกเขา?
 
ประเทศออสเตรเลียตั้งอยู่ในพื้นทวีปที่เป็นเกาะกว้างใหญ่ห่างไกลจากทวีปอื่น ๆ และมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์มาก ในขณะที่รัฐบาลกำหนดระเบียบการป้องกันพรหมแดนที่เข้มงวด ทำให้อุตสาหกรรมเนื้อแดงของประเทศมีสถานะปลอดโรคและความปลอดภัยทางอาหารสูงมาก นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศ เกษตรกรยังนิยมทำฟาร์มปศุสัตว์แบบยั่งยืน โดยเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มด้วยหญ้าและธัญพืช ปล่อยให้สัตว์เดินท่องไปในทุ่งขนาดใหญ่ได้อย่างเสรีและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมาก ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อที่มีคุณภาพดีอย่างโดดเด่น
 
อุตสาหกรรมเนื้อแดงของออสเตรเลียซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ดำรงอยู่บนรากฐานทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับผู้คน ยึดถือในการสร้างความเชื่อมั่นและความซื่อสัตย์ในการผลิต ซึ่งเห็นได้จากแนวทางการดำเนินธุรกิจเนื้อแดงในตลาดโลก ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้แก่อุตสาหกรรมเนื้อแดงของออสเตรเลียในหมู่คู่ค้าทั่วโลกเสมอมา
 
คนรักเนื้อต้องเคยได้ยินคำว่า ชั้นไขมันลายหินอ่อน” ซึ่งก็คือชั้นไขมันแทรกในกล้ามเนื้อของวัวนั่นเอง เมื่อเรานำเนื้อที่มีชั้นไขมันลายหินอ่อนมาปรุงอาหารก็จะได้เมนูเนื้อที่มีความชุ่มฉ่ำและรสชาติที่เข้มข้นมาก โดยทั่วไปนั้น “เนื้อวัวเกรดสูง” ก็จะยิ่งมีชั้นไขมันลายหินอ่อนแทรกตัวอยู่หนาแน่นมาก โดยเนื้อจากออสเตรเลียจะถูกแบ่งเกรดจากระบบการประเมินชั้นไขมันลายหินอ่อนของสมาคม AUS-MEAT ซึ่งแบ่งตั้งแต่ระดับ 0 (ปราศจากชั้นไขมันลายหินอ่อนที่มองเห็นได้) ไปจนถึงระดับ 9 (ปรากฏชั้นไขมันลายหินอ่อนหนาแน่น) ซึ่งการเกิดชั้นไขมันลายหินอ่อนในเนื้อวัวมาจากหลายปัจจัย อาทิ อายุของสัตว์ อาหารที่ใช้เลี้ยง (หญ้าหรือธัญพืช) รวมถึงสายพันธุ์
 
หากสิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อต้องจำไว้ก็คือ ยิ่งเนื้อวัวมีชั้นไขมันลายหินอ่อนแทรกตัวหนาแน่น ก็จะยิ่งให้รสชาติที่เข้มข้นมากขึ้น

นอกจากชั้นไขมันและเกรดของเนื้อส่วนต่าง ๆ อีกหนึ่งข้อพิจารณาสำคัญในการเลือกซื้อเนื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านเนื้อนำเข้าก็คื “การเปรียบเทียบสีที่แตกต่าง” เพราะสีสามารถบ่งบอกได้ถึงระยะเวลาที่เนื้อถูกเก็บไว้บนชั้นจำหน่ายหรือผ่านกระบวนการชำแหละมาเป็นเวลานานเท่าใดแล้ว โดยปกติเนื้อวัวจะมีตั้งแต่สีแดงอมชมพู ไปจนถึงสีแดงเชอร์รี่หรือแดงเข้ม ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของวัวและวิธีการบรรจุภัณฑ์ เช่น เนื้อที่บรรจุแบบสุญญากาศมักมีสีแดงเข้มมากกว่าเนื่องจากออกซิเจนถูกดึงออกไปจากบรรจุภัณฑ์ ส่วนเนื้อที่มาจากวัวอายุน้อยก็มักมีสีอ่อนกว่า หากมีข้อสงสัย เราควรสอบถามผู้จำหน่ายเนื้อในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือดูข้อมูลวันที่เหมาะสมกับการบริโภคบนฉลากบรรจุภัณฑ์
 
ขั้นตอนสุดท้ายในการเลือกเนื้อคือเราต้องรู้ว่าชิ้นเนื้อส่วนไหนเหมาะสำหรับปรุงเป็นเมนูใด และนี่คือแนวทางง่าย ๆ ในการเลือกคัตเนื้อของ True Aussie Beef เพื่อให้คุณเลือกคัตเนื้อที่เหมาะสมมาปรุงจานเด็ดได้แบบไม่มีพลาด
 
·       เมนูสเต็ก - ควรใช้ชิ้นเนื้อส่วนสันนอก (top sirloin) สันใน (tenderloin) หรือเนื้อส่วนใบบัว (flank) เพราะเหมาะสำหรับการย่างบนตะแกรง ทั้งยังเหมาะกับการเซียร์ด้วยความร้อนสูงแล้วนำออกมาพักไว้สักครู่ ก่อนยกเสิร์ฟ
·       เมนูอบ - เนื้อซี่โครง (rib-eye) ขา (leg) เนื้อส่วนลูกมะพร้าว (eye round) เนื้อสะโพกบน (top round) และสันนอก (striploin) เหมาะกับการทำเมนูอบมากที่สุด
·       เมนูแบบเนื้อบด - ชิ้นเนื้อที่เหมาะสมกับการปรุงรูปแบบนี้ ได้แก่ ส่วนสะโพก (round) ทั้งส่วนบนและล่าง สามารถนำมาบดเพื่อทำเป็นซอสพาสต้า มีตบอล และทาโค ได้อย่างดี
·       เมนูที่ปรุงด้วยความร้อนนาน - ชิ้นเนื้อทุกส่วนสามารถปรุงด้วยความร้อนได้ แต่มีบางชิ้นส่วนที่เหมาะสมมากกว่า อาทิ เนื้อเสือร้องไห้ (brisket) เนื้อซี่โครงส่วนปลาย (short ribs) เนื้อไหล่ (blade) สันคอ (chuck) เพราะเมื่อนำมาปรุงด้วยความร้อนอย่างช้า ๆ เป็นเมนูแกงต่าง ๆ แคสเซอโรล ซุป หรือเมนูตุ๋น ชิ้นเนื้อเหล่านี้จะให้เนื้อสัมผัสนุ่มจนละลายในปาก

ยิ่งคุณมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อที่คุณเลือกมาเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งสนุกสนานและเพลิดเพลินกับการนำเนื้อส่วนนั้นมาปรุงและรับประทานอย่างเอร็ดอร่อยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น อย่าลืมเลือกซื้อเฉพาะเนื้อเกรดดีที่มีชั้นไขมันลายหินอ่อน เพื่อให้ได้รสชาติอาหารที่เข้มข้น นุ่มละมุนลิ้น และชุ่มฉ่ำ ไม่แพ้ร้านอาหารดัง ๆ ที่คุณชื่นชอบเลยทีเดียว
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ
‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย เผยรายชื่อ 20 ร้านใหม่ จากทั้งหมด 156 ร้าน ที่ได้รับรางวัล ‘บิบ กูร์มองด์’ ประจำปี 2568   สำนักพิมพ์แม่บ้าน
‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย เผยรายชื่อ 20 ร้านใหม่ จากทั้งหมด 156 ร้าน ที่ได้รับรางวัล ‘บิบ กูร์มองด์’ ประจำปี 2568
เพื่อจุดกระแสความสนใจต่องานประกาศผลรางวัลดาวมิชลินซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน ศกนี้ มิชลินได้เผยรายชื่อร้านอาหารคุณภาพดีราคาย่อมเยาที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล ‘บิบ กูร์มองด์’ (Bib Gourmand) ประจำปี 2568 รวมทั้งสิ้น 156 ร้าน ในจำนวนนี้เป็นร้านที่ติดอันดับในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ประเทศไทย ครั้งแรก 20 ร้าน โดย 5 ร้านอยู่ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ ที่คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2565 (The MICHELIN Guide Thailand 2025) ขยายขอบเขตเข้าดำเนินการสำรวจและจัดอันดับเป็นปีแรก
ปลายปีนี้เติมเต็มความสุขในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ริมชายหาดอันเงียบสงบ ณ ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา ในยาง บีช สำนักพิมพ์แม่บ้าน
ปลายปีนี้เติมเต็มความสุขในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ริมชายหาดอันเงียบสงบ ณ ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา ในยาง บีช
ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขปลายปี ท่ามกลางบรรยากาศริมทะเลอันเงียบสงบ ณ ภูเก็ต แมริออท รีสอรืท แอนด์ สปา, ในยาง บีช รีสอร์ทหรูระดับ 5 ดาวที่ได้รับรางวัลระดับโลกมากมาย เชิญคุณและครอบครัวร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขตลอดเดือนธันวาคมนี้ ด้วยกิจกรรมพิเศษมากมายในบรรยากาศริมทะเล ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำริมชายหาด กิจกรรมวันคริสต์มาสสำหรับครอบครัว หรือ บีชปาร์ตี้ในธีมนีออน ท่ามกลางวิวงดงามของทะเลอันดามัน