กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1    601    9    25 พ.ค. 2564 13:05 น.   
แบ่งปัน

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร
ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมกำลังภาคสาธารณสุขประเทศไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พร้อมเพิ่มความปลอดภัยในแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมการสื่อสารทางไกล 5G เพื่อการแพทย์ (5G Telemedicine) ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยอัจฉริยะ (Inpatient area Intelligent Management) และระบบโครงข่ายวิทยุสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ eLTE (eLTE broadband trunking) โดยใช้ Idea Hub เป็นศูนย์กลางการดำเนินการโซลูชันทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะเพิ่มศักยภาพในการจัดการโครงข่ายการสื่อสารของบุคลากรในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือกับโรคระบาดอย่างเต็มที่ ตอกย้ำหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง

จากสถานการณ์ที่ยังคงมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องถูกนำมาใช้งานเพื่อรักษาผู้ป่วยในขณะนี้จนใกล้ถึงขีดจำกัด ทางภาครัฐและภาคสาธารณสุขจึงร่วมมือกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่สามารถรองรับจำนวนคนไข้ได้เป็นจำนวนถึง 1000 เตียง ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังมีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับภาคสาธารณสุขในประเทศไทย เพื่อรับมือกับความท้าทายจากเรื่องการขาดแคลนทรัพยากรด้านเครื่องมือแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาล เพราะสถานการณ์โรคระบาด กระทรวงดิจิทัลฯ จึงเร่งรุดหน้านำนวัตกรรมจากบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่างหัวเว่ย เพื่อใช้ในภารกิจรับมือและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับหัวเว่ยประเทศไทย ในครั้งนี้ว่า “ภาครัฐได้สนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานในด้านการบริหารประเทศและการบริการประชาชน ซึ่งรวมไปถึงการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ตามนโยบายเร่งด่วนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยทางกระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนทั้งในด้านสุขภาพและการติดต่อสื่อสารในช่วงสถานการณ์แพร่กระจายของโควิด-19 ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนอกจากกระทรวงฯ และบมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้มอบระบบสื่อสารให้กับโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียนแล้ว ทางกระทรวงฯ ยังได้เล็งเห็นศักยภาพของการนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกของหัวเว่ย ที่มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและทีมงานเข้ามาสนับสนุน นำนวัตกรรมโซลูชันด้านการแพทย์ระดับโลกมาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานและอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ไทยและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องขอบคุณ หัวเว่ยเทคโนโลยี่ ประเทศไทย เป็นอย่างมากที่ให้ความร่วมมือเต็มที่และสามารถติดตั้งโซลูชันทั้งหมดได้ในระยะเวลาเพียง 2 วันเท่านั้น”

นายแพทย์ศุภรัช สุวัฒนพิมพ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี เพื่อช่วยในงานของโรงพยาบาลสนามว่า “ทางโรงพยาบาลต้องขอขอบคุณกระทรวงดิจิทัลและบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย ที่ได้ร่วมนำนวัตกรรมเทคโนโลยีและโครงข่ายด้านการติดต่อสื่อสารเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาด ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมสำหรับการช่วยคัดกรองอาการไข้ การบริหารจัดการและควบคุมพื้นที่ เนื่องจากโรงพยาบาลสนามมีภารกิจที่ต้องดูแลผู้ป่วยมากถึง 1,000 เตียง ซึ่งถือว่ามากที่สุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการในเรื่องเหล่านี้ จะช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ผมมั่นใจว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนทางการแพทย์ จะช่วยให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ได้”

ด้านนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยในขณะนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นตัวช่วยสำคัญของ
ภาคสาธารณสุขในการรับมือกับปัญหาเรื่องการขาดแคลนทางการแพทย์ และในฐานะที่บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่
(ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เป็นพาร์ทเนอร์ด้าน ICT ที่ได้รับความไว้วางใจในประเทศไทย หัวเว่ยมี
ความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐ สถานพยาบาล และทีมบุคลาการทางการแพทย์ในการรับมือกับสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยเราได้ระดมทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าติดตั้งระบบโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียรภาพของการสื่อสาร เช่น นวัตกรรมการสื่อสารทางไกล 5G เพื่อการแพทย์ (5G Telemedicine) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรค รวมทั้งลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับบุคลากรการแพทย์ ระบบโครงข่ายวิทยุสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ eLTE (eLTE broadband trunking) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียรภาพของการสื่อสารในด้านการประสานงานในช่วงเวลาสำคัญผ่านโครงข่ายไร้สายแบบบรอดแบนด์แบบเฉพาะ (Private network) ที่สามารถทำการสื่อสารผ่าน ภาพ เสียง วีดีโอ และแสดงพิกัด (Location service) ของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผ่านโครงข่ายวิทยุไร้สาย eLTE ซึ่งสามารถทำงานโดยไม่ต้องพึ่งพาโครงข่ายของผู้ให้บริการ (Public network) หลีกเลี่ยงความแออัดจากการใช้งานโครงข่าย (traffic congestion) ของประชาชน นอกจากนี้เรายังติดตั้ง ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยอัจฉริยะ  (Inpatient area Intelligent Management) เพื่อส่งเสริมการจัดให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที และลดภาระการทำงานให้แก่บุคลากรในพื้นที่ นวัตกรรมเหล่านี้ทำงานบนเครือข่าย 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แพทย์ ช่วยป้องกันให้กับบุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลสนาม และช่วยทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันของไทยดีขึ้น”

ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการช่วยรับมือสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยด้วยนวัตกรรมชั้นนำต่าง ๆ ของบริษัท โดยหัวเว่ยได้มอบหน้ากากอนามัยจำนวน 500,000 ชิ้น เพื่อร่วมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19ในไทย ส่งมอบระบบวิดีโอ เทเลคอนเฟอเรนซ์แบบเรียลไทม์เพื่อการแพทย์ (Huawei Telemedicine Video Conferencing Solution) ให้แก่กรมควบคุมโรคและโรงพยาบาลในประเทศไทย รวม 7 ชุด คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้แก่บุคลากรการแพทย์ รวมทั้งส่งมอบโซลูชันผู้ช่วย AI วิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณสำหรับรายงานผลตรวจภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) โควิด-19 ซึ่งทำงานบนเทคโนโลยี Cloud และ 5G ของหัวเว่ยให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลศิริราช เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานให้แก่บุคลากรในเวลานั้นอีกด้วย
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ
‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย เผยรายชื่อ 20 ร้านใหม่ จากทั้งหมด 156 ร้าน ที่ได้รับรางวัล ‘บิบ กูร์มองด์’ ประจำปี 2568   สำนักพิมพ์แม่บ้าน
‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย เผยรายชื่อ 20 ร้านใหม่ จากทั้งหมด 156 ร้าน ที่ได้รับรางวัล ‘บิบ กูร์มองด์’ ประจำปี 2568
เพื่อจุดกระแสความสนใจต่องานประกาศผลรางวัลดาวมิชลินซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน ศกนี้ มิชลินได้เผยรายชื่อร้านอาหารคุณภาพดีราคาย่อมเยาที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล ‘บิบ กูร์มองด์’ (Bib Gourmand) ประจำปี 2568 รวมทั้งสิ้น 156 ร้าน ในจำนวนนี้เป็นร้านที่ติดอันดับในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ประเทศไทย ครั้งแรก 20 ร้าน โดย 5 ร้านอยู่ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ ที่คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2565 (The MICHELIN Guide Thailand 2025) ขยายขอบเขตเข้าดำเนินการสำรวจและจัดอันดับเป็นปีแรก
ปลายปีนี้เติมเต็มความสุขในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ริมชายหาดอันเงียบสงบ ณ ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา ในยาง บีช สำนักพิมพ์แม่บ้าน
ปลายปีนี้เติมเต็มความสุขในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ริมชายหาดอันเงียบสงบ ณ ภูเก็ต แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา ในยาง บีช
ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขปลายปี ท่ามกลางบรรยากาศริมทะเลอันเงียบสงบ ณ ภูเก็ต แมริออท รีสอรืท แอนด์ สปา, ในยาง บีช รีสอร์ทหรูระดับ 5 ดาวที่ได้รับรางวัลระดับโลกมากมาย เชิญคุณและครอบครัวร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขตลอดเดือนธันวาคมนี้ ด้วยกิจกรรมพิเศษมากมายในบรรยากาศริมทะเล ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำริมชายหาด กิจกรรมวันคริสต์มาสสำหรับครอบครัว หรือ บีชปาร์ตี้ในธีมนีออน ท่ามกลางวิวงดงามของทะเลอันดามัน