หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า Veggie ที่หมายถึงนักกินมังสวิรัติ ซึ่งมักรับประทานแต่พืชผักผลไม้เป็นหลัก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการรับประทานมังสวิรัตินั้นยังมีอีกรูปแบบหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้นก็คือการรับประทานมังสวิรัติแบบ Vegan หรือ Vegan Food…
Vegan (วีแกน) จัดเป็นมังสวิรัติประเภทที่เรียกได้ว่าเคร่งครัดกว่าการรับประทานแบบ Veggie ซึ่งการรับประทานมังสวิรัติแบบ Veggie กลุ่มนี้จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เน้นรับประทานพืชผักผลไม้ แต่ยังคงเลือกรับประทานนม เนย ชีส และไข่ได้ตามปกติ ส่วนการรับประทานมังสวิรัติแบบ Vegan นอกจากจะเป็นกลุ่มที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เน้นรับประทานพืชผักผลไม้แล้ว กลุ่มนี้ยังต้องรับประทานอาหารที่ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการงดบริโภคนม เนย ชีส ไข่ ไม่เว้นแม้แต่น้ำผึ้ง ยีสต์ และเจลาติน ซึ่งบางคนอาจเคร่งครัดชนิดที่ว่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า และใช้เครื่องสำอางที่ทำมาจากสัตว์ หรือทดลองจากสัตว์อีกด้วย
แต่หากใครที่อยากเริ่มหันมารับประทานมังสวิรัติแบบ Vegan บ้าง ก็ไม่ควรที่จะหักโหมชนิดที่ว่าพลิกมาเป็น Vegan ในทันที แต่ขอให้ลองเริ่มจากการงดเนื้อสัตว์แล้วค่อย ๆ เริ่มถือเว้นนม เนย และไข่เป็นบางวัน จากนั้นจึงเพิ่มวันไปเรื่อย ๆ อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นเนื้อปลอม ซึ่งได้จากโปรตีนเกษตร แต่รับประทานเป็นเต้าหู้โดยตรงจะดีกว่า และเมื่อคุณต้องปรุงอาหารรับประทานเองลองปรับเปลี่ยนส่วนผสมและวัตถุดิบให้เป็นแบบ Vegan เพื่อให้สามารถทำรับประทานเองได้ในทุกมื้อ และสิ่งที่ควรคำนึงคือชาว Vegan ไม่ได้รับประทานเพียงผักผลไม้เพียงอย่างเดียว เพราะเมนูอาหารของชาว Vegan ส่วนใหญ่ก็มักมีเต้าหู้ ถั่ว ข้าวกล้องเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น
และด้วยความที่การรับประทานมังสวิรัติต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัด จึงทำให้หลายคนอาจเกิดคำถามถึงเรื่องโภชนาการอาหารที่จะได้นั้น อาจจะทำให้คนกลุ่มนี้เป็นโรคขาดสารอาหารได้หรือเปล่า แต่ที่จริงแล้วสารอาหารที่จำเป็นต้องได้รับจากนื้อสัตว์ นม เนย ชีส หรือแม้แต่ในไข่นั้น สามารถหาชดเชยได้จากแหล่งพืชผักผลไม้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
โปรตีน ส่วนใหญ่ในกลุ่มผักที่เป็นเมล็ด ซึ่งเป็นโปรตีนประเภทกรดอะมิโนที่จำเป็น
ได้แก่ ถั่วลูปิน ถั่วเหลือง เมล็ดเจีย ผักโขม เมล็ดฟักทอง เมล็ดโซบะ สาหร่ายเกลียวทอง ถั่วพิสตาชิโอ และคีนัว เป็นต้น
ธาตุเหล็ก ได้แก่ ถั่วสีดำ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ บรอกโคลี ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ผักกาดหอม เมล็ดทานตะวัน น้ำมะเขือเทศ กากน้ำตาล โหระพา และขนมปังข้าวสาลี เป็นต้น
กรดไขมัน ที่จัดว่าเป็นพืชที่มีโอเมก้า 3 ได้แก่ ถั่วเหลือง วอลนัท ถั่วแระ เมล็ดแฟลกซ์ หรือน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันคาโนลา และผักโขม เป็นต้น
อาหารจากพืชที่มี
แคลเซียมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย พืชเมล็ด ผักใบเขียว และเต้าหู้ ได้แก่ งาดำ ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง เม็ดบัว กระเจี๊ยบ มะเดื่อแห้ง อัลมอนด์ ถั่วแระ ผักโขม ผักคะน้า ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว เป็นต้น
ส่วนผักในบ้านเราที่พบว่ามีแคลเซียมอยู่มาก ได้แก่ ใบชะพลู ใบยอ ยอดแค ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว สำหรับ
วิตามินด D นอกจากเราจะได้รับจากแสงแดดแล้ว การได้รับจากอาหารก็ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน ซึ่งเรา
สามารถพบได้ในเห็ดบางชนิด และนมถั่วเหลืองที่มีการเติมวิตามิน D ลงไปด้วยนั่นเอง นอกจากนี้สารอาหารอีกหนึ่งกลุ่มก็คือวิตามิน B 12 ที่อาจหาได้ยากในพืชผักผลไม้ แต่มักพบมากในนมและไข่ จึงทำให้ชาว Vegan มักขาดวิตามิน B 12 จนกลายเป็นโรคโลหิตจางและเส้นประสาทเสียหาย จึงอยากจะแนะนำให้ลองหาอาหารเสริมหรือวิตามินเสริมมารับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นการไม่ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร
สำหรับการรับประทานมังสวิรัติแบบ Vegan นอกจากจะช่วยให้เราได้รับอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว การจะมีสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง และอายุยืนแล้ว การออกกำลังกายและผักผ่อนให้เพียงก็ยังถือเป็นที่จำเป็นสิ่งเช่นกัน