ไข้ซิก้า ภัยร้ายจากยุงลาย

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    48,746    9    13 ก.ย. 2559 : น.   
แบ่งปัน

ไข้ซิก้า (Zika fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika virus) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) ตระกูลเดียวกับไวรัสไข้เหลือง, ไวรัสเดงกี (สาเหตุของไข้เลือดออก), ไวรัสเวสต์ไนล์ (สาเหตุของโรคเวสต์ไนล์ไวรัส) และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี (สาเหตุของไข้สมองอักเสบ) ซึ่งเกิดจากมียุงลายที่มีเชื้อกัด และยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือแพร่จากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารกในครรภ์

อาการ : เมื่อได้รับเชื้อจะฟักตัวอยู่ประมาณ 5-7 วัน จากนั้นผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ ผื่นแดงตามลำตัว แขน และขา รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองโต (ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน) โดยอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน จากนั้นจะสามารถหายเองได้ แต่สำหรับสตรีมีครรภ์ที่ได้รับเชื้อไวรัสจะทำให้เด็กแรกเกิดมีภาวะศีรษะเล็กกว่าปกติ และมีพัฒนาการทางสมองช้า

การรักษา : โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจง แต่จะใช้ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการ โดยห้ามรับประทานยาแอสไพรินหรือยาในกลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) เพราะอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ การดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้ว เพื่อป้องกันสภาวะขาดน้ำ และควรระวังไม่ให้ยุงลายกัด

ผู้ที่มีความเสี่ยง : 1.สตรีมีครรภ์  2. ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีเชื้อโรคระบาด เช่น บราซิล สิงคโปร์  3. ผู้ที่อยู่ในเขตที่มียุงลายชุกชุม

การป้องกัน : 1. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อโรค โดยมักอยู่ในภาชนะที่มีน้ำขังในครัวเรือน ด้วยการเทน้ำทิ้ง ครอบฝารองน้ำทิ้ง) 2. การสวมเสื้อผ้ามิดชิด อยู่ในมุ้งหรือใช้มุ้งลวด เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกยุงลายกัดได้
 
สาระน่ารู้อื่นๆ