เมื่อครั้งยังเป็นเด็กเคยคิดว่าอยากเกิดเป็นฝรั่งจัง เพราะบ้านเมืองเขาดูสวยงามอย่างที่เราไม่เคยเห็น มีอะไรใหม่ ๆ ให้ดูตลอดเวลา รวมถึงวิวัฒนาการที่ล้ำสมัยเกินหน้าเกินตา แต่พอเริ่มโตขึ้นก็ได้รู้ว่าโชคดีเหลือเกินที่เกิดเป็นคนไทย เพราะเป็นประเทศที่อัดแน่นไปด้วยวัฒนธรรมที่น่าลุ่มหลง และมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายที่สวยไม่แพ้เมืองนอก ที่สำคัญคืออาหารการกินอุดมสมบูรณ์มาก ๆ จนได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักกินเลยก็ว่าได้
ปลาดูสมุนไพร
ปลาดู เป็นอาหารพื้นบ้านคนไทยพวน จังหวัดนครนายก ลักษณะคล้ายกับปลาร้าในภาคอีสาน เพียงแต่ชาวบ้านไทยพวนจะนำปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาตัวสด ๆ มาหมักประมาณ 20-30 วัน แล้วนำปลาดูที่ได้มาทอดหรือย่าง รสเปรี้ยวนำเค็ม กินกับผักพื้นบ้าน ส่วนชื่อนั้นมาจากคำว่า “ดูแล” เนื่องจากในขณะที่หมักปลาจะต้องคอยดูไม่ให้เปรี้ยวจนเกินไปนั่นเอง สำหรับของหวานอีกชนิดหนึ่งก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
ส่วนผสม |
|
ปลาดุก |
1 กิโลกรัม |
เกลือป่นหยาบ |
300 กรัม |
ข้าวคั่ว |
200 กรัม |
กระเทียมสับละเอียด |
30 กรัม |
พริกไทยป่น |
10 กรัม |
น้ำมันพืชสำหรับทอด |
|
สมุนไพรทอดกรอบ เช่น หอมแดงเจียว กระชายซอยเจียว |
|
ใบมะกรูดทอด |
|
พริกขี้หนูแห้งทอด |
|
วิธีทำ
1. ตัดหัวปลาดุกนำไส้ออก ล้างให้สะอาดบั้งทั้ง 2 ด้านใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ
2. โรยเกลือป่นลงบนปลาดุก คลุกเคล้าให้เข้ากันหมักไว้ 6-8 ชั่วโมง
3. ล้างปลาดุกที่หมักไว้ให้สะอาด ใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ
4. ใส่ข้าวคั่ว กระเทียม พริกไทยป่น ลงในปลาดุกคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 15-20 วัน
5. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอร้อน ใส่ปลาดุกที่หมักไว้ลงทอดจนสุกเหลือง ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน จัดเสิร์ฟพร้อมสมุนไพรทอดกรอบ
สูตรจาก : ครูหลอด โทร. 08-1440-6113
ข้าวกระยาคู
เป็นขนมที่มีประวัติยาวนาน ในสมัยโบราณจะมีเฉพาะช่วงก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบมีความเกี่ยวพันกับความเชื่อตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย ในเรื่องการนับถือ “แม่โพสพ” จึงทำให้ขนมชนิดนี้มีความพิเศษ ในสมัยพุทธกาล พระอานนท์ก็เคยปรุงข้าวกล้อง ถั่วเขียว และงาทำเป็นข้าวเหลว ๆ ถวายพระพุทธเจ้า ตอนที่ท่านตถาคตประชวรด้วยโรคลมในท้อง ดังนั้น ข้าวกระยาคู จึงเหมาะสำหรับโรคเกี่ยวกับท้อง แก้หิวกระหาย ชูกำลัง และแก้อาการอ่อนเพลีย บ้างก็ว่าเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย
ส่วนผสม |
|
แป้งข้าวเจ้า |
1 ถ้วยตวง |
แป้งเท้ายายม่อม |
1 ช้อนโต๊ะ |
น้ำใบเตย |
6 ถ้วยตวง |
กะทิเข้มข้นปานกลาง |
4 ถ้วยตวง |
น้ำตาลทราย |
2 ถ้วยตวง |
เกลือป่นหยาบ |
1 ช้อนชา |
รวงข้าวเจ้าที่กำลังมีน้ำนม (ข้าวที่เกสรร่วงแล้ว รวงข้าวจะก้มลง) |
|
มะพร้าวอ่อนขูดเป็นเส้น สำหรับตกแต่ง |
|
งาดำคั่วสำหรับโรย |
|
วิธีทำ
1. เลือกใบข้าวออก ล้างให้สะอาด ใช้กรรไกรตัดเอาแต่เมล็ดข้าวตวงให้ได้ 1 ถ้วยตวง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด
2. ใส่น้ำใบเตยผสมกับข้าวที่โขลกไว้ คนให้เข้ากัน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง
3. ผสมเกลือป่น น้ำตาลทราย กะทิ แป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อมคนให้เข้ากัน ใส่ส่วนผสมข้อที่ 2 คนให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้ง
4. ใส่ส่วนผสมลงในกระทะทอง ยกขึ้นไฟอ่อน กวนไปเรื่อย ๆจนข้นเหนียว ตักใส่ภาชนะ พักไว้ให้เย็น ตกแต่งด้วยมะพร้าวอ่อนโรยงาดำคั่ว จัดเสิร์ฟ
สูตรจาก : กลุ่มอนุรักษ์ขนมไทยโบราณ โทร. 0-3739-8186
เส้นหมี่หน้าหมู
เป็นการนำบั๋นหอยหรือเส้นหมี่ของเวียดนามมาลวกพอสุก กินคู่กับหมูสามชั้นลวกจนนุ่ม ราดด้วยน้ำจิ้มรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม แกล้มด้วยผักสด
ส่วนผสม |
|
บั๋นหอย (เส้นหมี่เวียดนาม) |
5 แผ่น |
หมูสามชั้นต้มสุกหั่นชิ้น |
300 กรัม |
น้ำเปล่า |
|
น้ำเย็น |
|
ต้นหอมลวกสุก |
|
ขิงดอง |
|
ผักสด เช่น ใบโหระพา ผักแพว ผักกาดหอม ผักชี ใบสะระแหน่ ผักชีฝรั่ง |
|
วิธีทำ
1. ต้มน้ำเปล่าพอเดือด ใส่บั๋นหอยลงต้ม จับเวลา 1 นาที 15 วินาที ตักขึ้นแช่น้ำเย็นสักครู่ ใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ
2. ม้วนบั๋นหอยเป็นก้อนกลม พันด้วยต้นหอมลวก จัดเสิร์ฟพร้อมหมูสามชั้นต้ม ผักสด ขิงดอง และน้ำจิ้ม
ส่วนผสมน้ำจิ้ม |
|
พริกขี้หนูสีแดง |
10 เม็ด |
กระเทียม |
3 กลีบ |
รากผักชี |
2 ราก |
น้ำมะนาว |
1/4 ถ้วยตวง |
น้ำปลา |
2 ช้อนโต๊ะ |
น้ำตาลทราย |
1 1/2 ช้อนโต๊ะ |
วิธีทำ
โขลกพริกขี้หนู กระเทียม และรากผักชีให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย เติมน้ำมะนาว น้ำปลา และน้ำตาลทราย คนให้ละลายเตรียมไว้
Tips :
หมูสามชั้นเมื่อต้มสุกแล้วควรแช่น้ำเปล่าไว้ เวลาจะเสิร์ฟค่อยนำขึ้นมาหั่น เนื้อจะได้นุ่มไม่แข็ง
สูตรจาก : ร้านยายเต็มอาหารเวียดนาม โทร. 08-0880-0090
บัวลอยญวน
เป็นบัวลอยลูกโต ไส้ด้านในเป็นถั่วเขียวกวนกับน้ำตาล เวลากินราดด้วยกะทิเล็กน้อย โรยด้วยถั่วทอง รสชาติโดยรวมหวานปนเค็ม โดยส่วนใหญ่จะได้กินเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ตรุษจีน และปีใหม่
ส่วนผสมตัวแป้ง |
|
แป้งข้าวเหนียว |
1 ถ้วยตวง |
น้ำใบเตย |
1/3 ถ้วยตวง |
น้ำเปล่า |
|
งาขาวและงาดำคั่วบุบพอแตก |
|
วิธีทำ
1. เทแป้งข้าวเหนียวใส่ภาชนะ ทำเป็นบ่อตรงกลางค่อย ๆ ใส่น้ำใบเตย นวดจนแป้งเนียนนุ่มไม่ติดมือ(ถ้าแป้งแห้งเติมน้ำใบเตยเพิ่ม)
2. ปั้นแป้งเป็นก้อนกลมแผ่ให้บางเล็กน้อย ใส่ไส้ปั้นเป็นก้อนกลมอีกครั้ง
3. ต้มน้ำเปล่าพอเดือด ใส่บัวลอยลงต้มพอสุก ตักขึ้นจัดเสิร์ฟพร้อมน้ำกะทิ งาขาว และงาดำคั่ว
ส่วนผสมไส้ |
|
ถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุกบดละเอียด |
1 ถ้วยตวง |
หอมแดงซอย |
1/4 ถ้วยตวง |
น้ำตาลทราย |
1/4 ถ้วยตวง |
พริกไทยป่น |
1 ช้อนชา |
เกลือป่นหยาบ |
1 ช้อนชา |
น้ำมันพืช |
3 ช้อนโต๊ะ |
วิธีทำ
1. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอร้อน ใส่หอมแดงลงเจียวพอเหลือง ใส่ถั่วเขียวเลาะเปลือก ผัดให้เข้ากัน
2. ใส่น้ำตาลทราย เกลือป่น พริกไทยป่น ผัดให้แห้งยกลงพักไว้ให้เย็น ปั้นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง1 เซนติเมตร
ส่วนผสมน้ำกะทิ |
|
หัวกะทิ |
1 ถ้วยตวง |
หางกะทิ |
1 1/2 ถ้วยตวง |
เกลือป่นหยาบ |
1/4 ช้อนชา |
น้ำตาลทราย |
1/2 ถ้วยตวง |
กลิ่นมะลิ |
2-3 หยด |
วิธีทำ
ผสมหางกะทิ เกลือป่น และน้ำตาลทราย คนให้เข้ากันยกขึ้นตั้งไฟพอเดือด ใส่หัวกะทิ กลิ่นมะลิ คนให้เข้ากัน ยกลง
สูตรจาก : ร้านยายต๊าม โทร. 08-1559-8664
ข้าวคลุกพริกเกลือ
นับเป็นเมนูของชาวไทยตั้งแต่เดิม คนไทยในสมัยโบราณใช้พริกกับเกลือคลุกรวมกันให้เกิดรสชาติและเก็บไว้กินได้ แต่ชาวจันทบุรีนำมาดัดแปลงโดยการเพิ่มอาหารทะเลเข้าไป สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดจันทบุรีได้เป็นอย่างดี
ส่วนผสม |
|
กุ้งสดปอกเปลือกผ่าหลังดึงเส้นดำออกลวกสุก |
10 ตัว |
ปลาหมึกสดขนาดกลางหั่นชิ้นลวกสุก |
1 ตัว |
เนื้อหมูสันนอกหั่นชิ้นลวกสุก |
100 กรัม |
ไข่เป็ดต้มยางมะตูม |
1 ฟอง |
กระเทียมไทยกลีบเล็ก |
15 กลีบ |
พริกขี้หนูสวนสีเขียว สีแดง |
20 เม็ด |
น้ำมะนาว |
3 ช้อนโต๊ะ |
น้ำปลา |
2 ช้อนโต๊ะ |
เกลือป่นหยาบ |
1/4 ช้อนชา |
รากผักชี |
3 ราก |
น้ำตาลทราย |
1 1/2 ช้อนโต๊ะ |
ข้าวสวย |
3 ถ้วยตวง |
แตงกวา ผักชี |
|
วิธีทำ
1.โขลกรากผักชี เกลือป่น กระเทียม พริกขี้หนูสวนพอหยาบปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาลทราย คนให้เข้ากันชิมรสตามชอบ
2. ผสมข้าวสวยและน้ำจิ้มข้อที่ 1 ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะคลุกเคล้าให้เข้ากัน แบ่งใส่จาน 2 จาน เรียงเนื้อสัตว์ที่ลวกแล้ว อย่างละ 2-3 ชิ้น
3. วางไข่ต้ม แตงกวา โรยผักชี จัดเสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มที่เหลือ
สูตรจาก : ร้านขลุกขลิก - เจ้าเก่า ริมน้ำจันทบูรณ์ โทร. 09-8994-6090
ขนมควยลิง
ทำจากแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน รูปร่างเป็นแท่งสีชมพูอมม่วงอ่อน ๆ ต้มจนสุก แล้วคลุกน้ำตาล งาดำ และมะพร้าวขูด สำหรับที่มาของชื่อขนมเกิดจากสมัยก่อนในชุมชนบ้านหนองบัวจะเป็นป่าชายเลน มีต้นแสมและมีลิงแสมอาศัยอยู่เยอะ และมักจะชอบมานั่งเฝ้าเวลาทำขนม ทำให้มองเห็นอวัยวะเพศโผล่มาให้เห็น เมื่อคนทำขนมเห็นจึงนำมาตั้งชื่อขนมจนถึงปัจจุบัน
ส่วนผสม |
|
แป้งข้าวเหนียวดำ |
1 ถ้วยตวง |
แป้งข้าวเหนียวขาว |
2 ถ้วยตวง |
น้ำเปล่า |
1 ถ้วยตวง |
มะพร้าวขูดขาวนึ่งประมาณ 5 นาที |
500 กรัม |
งาขาวคั่ว |
1/2 ถ้วยตวง |
น้ำตาลทราย |
1 ถ้วยตวง |
เกลือป่นหยาบ |
2 ช้อนชา |
น้ำเปล่าสำหรับต้ม |
|
|
|
วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเหนียวดำ แป้งข้าวเหนียวขาว คนให้เข้ากันค่อย ๆ ใส่น้ำเปล่า นวดจนแป้งเนียนนุ่มไม่ติดมือ (ถ้าแป้งแห้งเติมน้ำเปล่าเพิ่ม)
2. ปั้นแป้งเป็นก้อนยาวรี ใส่ลงต้มในน้ำเดือด พอสุกแป้งลอยตักขึ้นสะบัดให้สะเด็ดน้ำ ใส่ลงในมะพร้าวขูดขาว คลุกให้ติดทั่ว
3. ใส่น้ำตาลทราย เกลือป่น งาขาว ลงในครก ใช้ไม้ตีพริกคลึงเบา ๆ จนงาแตก ตักใส่ถ้วย เตรียมไว้
4. จัดขนมใส่ภาชนะ โรยส่วนผสมข้อที่ 3 จัดเสิร์ฟ
สูตรจาก : ร้านยายลิ ชุมชนขนมแปลก ริมคลองหนองบัว โทร. 08-1983-5893
ลอมาจู (สะลอมาจู)
ซึ่งในภาษาเขมรคำว่า สะลอ หมายถึงแกง ส่วนคำว่า จู หมายถึงรสเปรี้ยว ดังนั้นสะลอมาจูจึงหมายถึง แกงที่มีรสเปรี้ยว โดยรสเปรี้ยวที่ได้มาจากมะเขือเทศ และสับปะรด เมื่อซดน้ำร้อน ๆ จะทำให้สดชื่น ส่วนเนื้อสัตว์สามารถใส่ได้ทั้งเนื้อปลาและเนื้อกุ้ง
ส่วนผสม |
|
เนื้อปลากะพงหั่นชิ้น |
200 กรัม |
สับปะรดตราดสีทองหั่นชิ้น |
200 กรัม |
มะเขือเทศหั่นชิ้น |
70 กรัม |
หอมหัวใหญ่หั่นชิ้น |
140 กรัม |
หอมแดงหั่นหยาบ |
2 ช้อนโต๊ะ |
พริกขี้หนูสวน |
25 เม็ด |
กะปิ |
3 ช้อนโต๊ะ |
ไข่ไก่ |
1 ฟอง |
น้ำเปล่า |
5 ถ้วยตวง |
น้ำปลา |
1 1/2 ช้อนโต๊ะ |
ผักชีฝรั่งซอย |
1/4 ถ้วยตวง |
วิธีทำ
1. โขลกกะปิ พริกขี้หนูสวน หอมแดง รวมกันพอหยาบ
2. ต้มน้ำเปล่าพอเดือด ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ คนให้เข้ากันใส่สับปะรด หอมหัวใหญ่ และมะเขือเทศ เดือดอีกครั้งใส่ปลากะพง ปรุงรสด้วยน้ำปลา
3. ตีไข่ไก่จนฟู ใส่ลงในหม้อขณะน้ำเดือดพล่าน โรยผักชีฝรั่งคนให้เข้ากัน ตักใส่ภาชนะ จัดเสิร์ฟ
สูตรจาก : ร้านโฟล์คเวย์ โทร. 06-4146-1496, 039-510-246, 09-4416-9899
ขนมบันดุ๊ก
มีลักษณะคล้ายกับขนมเปียกปูน แต่วิธีการกินจะต่างกัน เนื่องจากขนมบันดุ๊กจะกินพร้อมกับน้ำเชื่อม แล้วโรยด้วยถั่วลิสงด้านบน และด้วยชื่อที่ค่อนข้างแปลกออกไปจากขนมไทยทั่วไปจึงสันนิษฐานว่าเป็นขนมจากต่างเมือง
ส่วนผสมแป้ง |
|
แป้งข้าวเจ้าโม่สด |
2 ถ้วยตวง |
แป้งมันสำปะหลัง |
1/2 ถ้วยตวง |
น้ำใบเตยคั้นเข้ม ๆ |
1 ถ้วยตวง |
น้ำเปล่า |
4 1/2 ถ้วยตวง |
ถั่วลิสงคั่วบดหยาบ |
|
|
|
วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเจ้าโม่สดและแป้งมันสำปะหลังให้เข้ากัน ค่อย ๆใส่น้ำเปล่า คนให้เข้ากัน
2. ใส่น้ำใบเตย คนให้เข้ากันอีกครั้ง เทใส่กระทะทอง ยกขึ้นตั้งไฟกวนจนข้นเหนียว เทใส่ถาด พักให้เซ็ตตัว
3. ตัดขนมเป็นชิ้น ราดน้ำเชื่อม น้ำกะทิ โรยถั่วลิสง จัดเสิร์ฟ
ส่วนผสมน้ำเชื่อม |
|
น้ำตาลทรายแดง |
3 ถ้วยตวง |
น้ำเปล่า |
2 ถ้วยตวง |
วิธีทำ
ผสมน้ำตาลทรายแดงและน้ำเปล่า ยกขึ้นตั้งไฟพอเดือดเบาไฟเคี่ยวพอข้นเหนียว ยกลง
ส่วนผสมน้ำกะทิ |
|
หัวกะทิ |
1 ถ้วยตวง |
แป้งมันสำปะหลัง |
1/2 ช้อนชา |
เกลือป่นหยาบ |
1 ช้อนชา |
วิธีทำ
ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟ คนจนแป้งสุกมีลักษณะข้นเล็กน้อย ยกลง
สูตรจาก : ร้านป้าหนอม ขนมไทยโบราณเมืองตราด โทร. 09-4235-3242
ยำกระเฉดชะลูดน้ำ
ที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จะเกิดน้ำท่วมเกือบทุกปี เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรและปลูกผักกระเฉดไว้ขาย เมื่อเกิดน้ำท่วมผักกระเฉดที่ปลูกไว้จะจมน้ำเสียหาย และมีผักกระเฉดบางส่วนชะลูดน้ำขึ้นมา เกษตรกรจึงเก็บผักกระเฉดชะลูดน้ำไปขายในตลาด พบว่าจำหน่ายได้ราคาดี จึงหันมาปลูกผักกระเฉดชะลูดน้ำกันอย่างแพร่หลาย
ส่วนผสมตัวแป้ง |
|
ผักกระเฉดชะลูดน้ำหั่นท่อน |
50 กรัม |
กุ้งสดปอกเปลือกผ่าหลังดึงเส้นดำออก |
3 ตัว |
ปลาหมึกหั่นแว่น |
3 ชิ้น |
หอยแมลงภู่ต้มแกะเนื้อ |
5 ตัว |
หอมแขกหั่นชิ้น |
1/2 หัว |
พริกขี้หนูสวนโขลกหยาบ |
5 เม็ด |
น้ำพริกเผา |
1 ช้อนโต๊ะ |
น้ำมะนาว |
3 ช้อนโต๊ะ |
น้ำปลา |
1 1/2 ช้อนโต๊ะ |
น้ำตาลทราย |
1 ช้อนโต๊ะ |
มะเขือเทศราชินีผ่าครึ่งลูก |
5 ลูก |
ขึ้นฉ่ายหั่นท่อน |
1/4 ถ้วยตวง |
น้ำเปล่าสำหรับลวก |
|
วิธีทำ
1. ผสมน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลทราย น้ำพริกเผา คนให้ละลาย ใส่พริกขี้หนูสวน คนให้เข้ากัน
2. ลวกกุ้ง ปลาหมึก หอยแมลงภู่ ผักกระเฉดชะลูดน้ำลงในน้ำเดือด สะบัดให้แห้ง ใส่ลงในน้ำยำ
3. ใส่มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย หอมแขก คลุกเคล้าเบา ๆ ให้เข้ากัน ตักใส่ภาชนะ จัดเสิร์ฟ
สูตรจาก : ร้านบ้านเนินน้ำ โทร. 09-8338-2536,08-1921-5643
ขนมเขียวมรกต
เป็นขนมขึ้นชื่อของอำเภอนาดี เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นโดยแท้ ตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ และกรรมวิธีทำให้สุก โดยอาศัยฝีมือของผู้ทำเป็นประการสำคัญ วัตถุดิบที่นำมาทำแยกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวแป้ง และไส้ ลักษณะคล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อของภาคกลาง แต่ตัวแป้งจะเป็นสีเขียวสวย ส่วนไส้ด้านใน ประกอบด้วย มะพร้าวขูด ถั่วเขียวผ่าซีก นึ่งจนสุกผสมกันกับเกลือให้มีรสชาติเค็มปนมัน
ส่วนผสมแป้ง |
|
แป้งข้าวเจ้า |
1 1/2 ถ้วยตวง |
แป้งมันสำปะหลัง |
1 ถ้วยตวง |
น้ำตาลทราย |
1 ถ้วยตวง |
น้ำปูนใส |
2 ถ้วยตวง |
น้ำใบเตยคั้นเข้ม ๆ |
1/4 ถ้วยตวง |
น้ำเปล่า |
|
หัวกะทิ |
|
วิธีทำ
1. ขึงผ้าโทเรลงบนหม้อข้าวเกรียบปากหม้อมัดด้วยหนังยางให้ตึง เจาะรูบนผ้าเติมน้ำเปล่าปิดฝา ต้มจนเดือด
2. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลังน้ำตาลทราย คนให้เข้ากัน ค่อย ๆ ใส่น้ำปูนใส คนให้ละลาย ใส่น้ำใบเตยคนให้เข้ากัน
3. ตักแป้งละเลงบนผ้าให้เป็นแผ่นกลมปิดฝาประมาณ 10 วินาที พอแป้งสุกแซะขึ้นวางบนถาดที่ทาด้วยหัวกะทิใส่ไส้พับครึ่ง จัดเสิร์ฟ
ส่วนผสมไส้ |
|
ถั่วเขียวเลาะเปลือก |
250 กรัม |
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น |
150 กรัม |
น้ำตาลทราย |
1/4 ถ้วยตวง |
เกลือป่นหยาบ |
1 ช้อนชา |
วิธีทำ
1. ล้างถั่วเขียวเลาะเปลือกให้สะอาด แช่น้ำอุ่น1-2 ชั่วโมง ล้างให้สะอาดอีกครั้ง เทใส่ลังถึงที่ปูด้วยผ้าขาวบาง ยกขึ้นนึ่งบนน้ำเดือดไฟปานกลางประมาณ 20 นาที หรือจนสุก
2. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกขึ้นจากลังถึงใส่มะพร้าวทึนทึกลงนึ่งต่อประมาณ 5 นาที
3. ผสมถั่วเขียวเลาะเปลือก มะพร้าวทึนทึก น้ำตาลทราย เกลือป่น คลุกเคล้าให้เข้ากัน เตรียมไว้
สูตรจาก : ร้านแม่ปุก โทร. 08-1865-8042, 08-7987-4877