ในอนาคตไม่แน่เราอาจต้องกิน “แมลง” เป็นจานหลัก

แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
2,275    6    -4    12 ธ.ค. 2562 11:00 น.
แบ่งปัน
       เมื่อปีก่อนได้ข่าวเกี่ยวกับการกินแมลงมาค่อนข้างหนาหู เนื่องจากต่างประเทศให้ความสนใจกันมาก และแน่นอนว่าประเทศไทยอย่างเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนสนใจเรื่องการนำแมลงมาทำอาหารเช่นกัน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) รายงานผลศึกษาของ UN ยืนยันตลาดอาหารจาก “แมลง” มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ประเมินปี 93 ประชากรโลกจะมีมากถึง 9.7 พันล้านคน ทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นแมลงจึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญที่อาจทำให้เราอยู่รอดได้ในอนาคต

วัฒนธรรมการบริโภคแมลงเป็นอาหาร เรียกว่า Entomophagy องค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่าภายในปี ค.ศ.2050 หรือ พ.ศ.2593 ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 9.7 พันล้านคน และอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมดในขณะนั้นจะต้องมีอาหารถึงสองเท่า แต่พื้นดินเพาะปลูกมีจำนวนไม่เพียงพอ และ 1 ใน 3 ของพื้นดินเพาะปลูกที่มีอยู่ในโลกได้ใช้ไปในการปศุสัตว์ ขณะที่พื้นที่ป่าและน้ำก็มีจำกัด ซึ่งอาหารโปรตีนที่จะมาทดแทนปศุสัตว์ ก็คือ แมลง เพราะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง รวมถึงยังมีการยืนยันว่าโปรตีนจากจิ้งหรีดมีมากกว่าโปรตีนจากเนื้อวัว ทั้งยังมีกรดอะมิโนที่สำคัญ 9 ชนิด มีทั้งวิตามิน B12 ธาตุเหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม โซเดียม โปแตสเซียม และแคลเซียม โดยใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อยกว่า เช่น พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร สามารถผลิตโปรตีนจากแมลงได้ 150 ตันต่อปี และจิ้งหรีดยังปล่อยแก๊สมีเทน ซึ่งเป็นแก๊สที่มีผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโลกน้อยกว่าวัวถึง 80 เท่า จึงไม่แปลกที่ทำให้หลายคนหันมาสนใจการบริโภคแมลง รวมถึงเลี้ยงเพื่อนำมาจำหน่ายด้วย เพราะในอนาคตแมลงตัวเล็ก ๆ เหล่านี้จะทำเงินให้คุณได้มหาศาลอย่างไม่ยากเย็นเลยสักนิด
 

       ปัจจุบันแมลงที่นิยมกินกันมีมากกว่า 2,000 ชนิด อาทิ แมลงปีกแข็ง ตัวบุ้ง ด้วง ผึ้ง ตัวต่อ มด ตั๊กแตน จิ้งหรีด จักจั่น แมลงปอ ปลวก เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด และเพลี้ยกระโดด ซึ่งแมลงเหล่านี้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลาย อาทิ ขนมปัง บิสกิต คุกกี้ ขนมปังมัฟฟิน ขนมหวาน ซุป สมูทตี้ ชิป และพาสต้า หรือจะนำมาทอดง่าย ๆ แบบบ้านเราก็ได้เช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตววิทยา จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ทำการสำรวจวัฒนธรรมการกินแมลงของคนทั่วโลกได้อย่างน่าสนใจ เริ่มจากญี่ปุ่น นิยมกินตัวอ่อนของ "แตน" ทั้งแบบดิบและแบบสุก โดยจะนำไปปรุงกับขิง ซีอิ๊ว และมิริน ให้รสชาติคล้ายหอยแมลงภู่ นอกจากนั้นยังนำไปทอด และผสมเป็นยาดองด้วยเช่นกัน ส่วนในเม็กซิโก นิยมนำหนอนแดง (red worms) เป็นหนอนที่อยู่บริเวณต้นอากาเว ไปดองกับเตกีล่า (เหล้า) กลายเป็นสินค้ายอดนิยมที่นักท่องเที่ยวซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านด้วย

ไม่ได้มีเฉพาะร้านริมทางเท่านั้นที่จำหน่ายอาหารจากแมลง ในสวิตเซอร์แลนด์มีการวางจำหน่ายเบอร์เกอร์และลูกชิ้นที่ทำจากแมลง ประกอบด้วยตัวอ่อนหนอนนก นอกนั้นก็มีส่วนผสมของข้าว ผัก และเครื่องปรุง ซึ่งในเบอร์เกอร์ขนาด 100 กรัม จะมีโปรตีนอยู่ราว 10 กรัม ซึ่งนับเป็นแหล่งโปรตีนใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย ส่วนที่นิวยอร์กมีการจัดงาน “บรู๊กลิน บั๊กส์” มหกรรมอาหารจากแมลง โดยรวมผู้เพาะเลี้ยงแมลง รวมถึงเชฟผู้ช่วยคิดค้นเมนูและผลิตภัณฑ์จากแมลงกว่า 200 ชนิด เช่น เบอร์เกอร์มังสวิรัติที่ใช้แป้งที่ทำจากจิ้งหรีด และเทมปุระตั๊กแตนเม็กซิกันหมักเครื่องเทศ นอกจากนั้นร้าน Ramen Nagi ในโตเกียว ยังจัดเมนูพิเศษที่นำจิ้งหรีดและหนอนนกทอด โปะลงบนหน้าราเมน กินกับน้ำซุปที่ทำจากจิ้งหรีด ตั๊กแตน หรือตัวไหม ช่วยเพิ่มความแปลกให้กับลูกค้าที่อยากลอง เพียงแค่ 100 ชาม ใน 1 วัน ซึ่งแน่นอนว่าได้รับความนิยมอย่างมาก และสินค้าหมดเกลี้ยงภายใน 4 ชั่วโมงเท่านั้น

ส่วนเมนูอาหารจากแมลงในประเทศเกาหลีนั้นคล้ายกับบ้านเรา โดยส่วนใหญ่จะนำมาทอด อบ ต้ม กินเป็นกับแกล้มร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือจะกินเล่นเพลิน ๆ ก็ได้เหมือนกัน บ้านเรานับว่าเป็นหนึ่งที่นิยมนำแมลงมาทำอาหาร จนทำให้เกิดการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จนทำให้สามารถส่งออกนอกประเทศได้แบบไม่อายใครกันเลย



เรื่อง : TONGTA
  ทอด,
บทความแนะนำอื่นๆ
สูตรอาหารน่าสนใจ
แสดงความคิดเห็น

* จำเป็นต้องกรอก

คะแนนสำหรับบทความนี้ *
รายละเอียด *
ยังไม่มีรีวิว
บทความใกล้เคียงดูบทความทั้งหมด