รวม ส.ค.ส. พระราชทานในหลวงรัชกาลที่ 9 ในโอกาสขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2530-2559

แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
76,671    131    -3    18 ต.ค. 2559 08:00 น.
แบ่งปัน
ส.ค.ส. พระราชทาน เป็นบัตรส่งความสุขซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2530   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2531
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2532   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2533
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2534   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2535
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2536   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2537
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2538   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2539
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2540   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2541
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2542   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2543
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2544   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2545
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2546   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2547
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2549   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2550
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2551   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2552
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2553   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2554
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2555   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2556
     
 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2557   ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2558
     
   
ส.ค.ส. พระราชทาน ปีพ.ศ. 2559    
     

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะพระราชทานพรปีใหม่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจมาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงานโดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า "กส. 9" เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ดังที่ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า "กส. 9 ปรุ" ส.ค.ส. พระราชทานที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี 2530

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทานด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์เมื่อปี 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และโปรดให้โทรสาร (แฟกซ์) ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ข้อความใน ส.ค.ส. พระราชทานแต่ละปีจะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในภายหลัง หนังสือพิมพ์รายวันจึงนิยมนำ ส.ค.ส. พระราชทาน ลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม

นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน เป็น "ก.ส. 9 ปรุง" เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ" ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะพระราชทาน ส.ค.ส. ในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี แต่มิได้พระราชทานสำหรับปี 2548 เพราะเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้วันที่ขนาดย่อดังนี้
  • ว เป็น วันที่
  • ช เป็น เวลาเป็นชั่วโมง
  • น เป็น เวลาเป็นนาที
  • ด เป็นเดือน
  • ป เป็น ปี
โดยทรงนำมาวางดังนี้ วว ชช นน ด.ด. ปปปป

ภายหลังพระองค์ทรงปรับปรุงเรียงใหม่อีกครั้งโดยเรียงเป็น ววชชนน ด.ด. ปป ใช้ใน ส.ค.ส. พระราชทานปี 2549 เป็นต้นมา

อนึ่ง ส.ค.ส. พระราชทานตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาเป็นภาพสี และคำลงท้ายของมีข้อความ "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549-2557)"Printed at the Suvarnnachad, D.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549, 2551-2557)"Printed at the Suvarnnachad Publishing, C.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2550) และ "มหาวิทยาลัยปูทะเลย์ มิถิลา"(ใน ส.ค.ส. ปี 2558-ปัจจุบัน) เช่นเดียวกับ กรอบของ ส.ค.ส. เป็นภาพใบหน้าคนเล็ก ๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว ส่วนด้านบนและด้านล่าง เรียงกันด้านละ 2 แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม

การเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์
วันที่ 2 มกราคม 2553 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งกระทู้ในเว็บบอร์ด โดยมีเนื้อหาเชิงตั้งข้อสังเกตว่า ส.ค.ส. ประจำปี พ.ศ. 2553 มิได้ใช้รูปแบบเฉพาะของการระบุวันเดือนปีและเวลา ที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง ดังที่ทรงใช้มาทุกปี

รูปแบบที่เปลี่ยนใหม่ เริ่มจากเวลาเป็นชั่วโมง เวลาเป็นนาที แล้วจึงเป็น วัน เดือน และปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวเลขที่ประทับอยู่มุมขวาตอนล่างของพระบรมฉายาลักษณ์ที่เป็น ส.ค.ส. ในปีดังกล่าว ซึ่งเป็นเวลาฉายภาพคือ 15 นาฬิกา 25 นาทีนั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง อันเป็นเวลาที่นำภาพมาประดิษฐ์เป็น ส.ค.ส. ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในเชิงเหตุผล ที่เวลาทั้งสองส่วนดังกล่าว จะเป็นเวลาเดียวกันพอดี

ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org http://bit.ly/2ecfj9w
ขอบคุณภาพจาก ohm.go.th http://bit.ly/2dqUF2y
บทความแนะนำอื่นๆ
สูตรอาหารน่าสนใจ
แสดงความคิดเห็น

* จำเป็นต้องกรอก

คะแนนสำหรับบทความนี้ *
รายละเอียด *
ยังไม่มีรีวิว
บทความใกล้เคียงดูบทความทั้งหมด