วิธีการเลือกภาชนะบรรจุอาหาร

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    8,012    3    16 ส.ค. 2560 12:01 น.   
แบ่งปัน

ข้าวกล่อง เป็นอาหารปรุงสำเร็จและใส่กล่อง มีลักษณะเป็นถาดหลุม ๆ เพื่อจัดวางข้าว กับข้าว เครื่องเคียงต่าง ๆ และขนมหวาน ลงไปในกล่องอย่างเป็นสัดส่วนและสวยงาม ซึ่งสามารถพกพาไปรับประทานข้างนอกหรือระหว่างการเดินทางได้ ซึ่งกล่องอาหาร คือ ภาชนะที่ใส่อาหาร มีประเภทหลายช่องในกล่องเดียวเพื่อแยกชนิดอาหาร มีฝาปิด และประเภทไม่มีช่อง มีหลายชั้น ซึ่งสามารถวางซ้อนกันได้หลายชั้น มีหลายชนิด ได้แก่
 
1. พลาสติก เป็นภาชนะที่มีความคงรูปสูง น้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทก ไม่หลอมละลายเมื่อโดนความร้อน สามารถติดไฟหรือไหม้ได้ มีน้ำหนักเบา ควรเลือกกล่องพลาสติกให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร แนะนำให้ใช้พลาสติกแข็งที่ทําจากวัตถุทนความเป็นกรดและด่างได้ แต่ไม่ควรนำพลาสติกใส่อาหารที่ร้อนจัด เพราะจะทำให้สีจากภาชนะละลายปนออกมากับอาหาร

2. เมลามีน เป็นภาชนะทำมาจากพลาสติกชนิดหนึ่งซึ่งมีเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ที่ขึ้นรูปด้วยความร้อน จนกลายมาเป็นภาชนะ สามารถทนต่อกรดและด่าง มีน้ำหนักเบา ทนความร้อนได้ไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิระหว่าง 30-100 องศาเซลเซียส       

3. ไม้ เป็นภาชนะที่ทำมาจากส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ยืนต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไม้เนื้อแข็ง จะมีเนื้อหยาบจนถึงเนื้อละเอียด เนื้อไม้มีสีแดงเข้ม แข็งแรง และทนทานสูง ส่วนไม้เนื้ออ่อน จะมีสีจางอ่อนไปจนถึงสีเข้ม ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย และมีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงทนทานน้อยกว่าไม้เนื้อแข็ง

4. สเตนเลส เป็นภาชนะทำมาจากโลหะหลายชนิด มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกระแทก และการกัดกร่อนได้สูง ไม่เป็นสนิม สามารถทนต่ออุณหภูมิสูง อุณหภูมิต่ำ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วได้ดี

5. อะลูมิเนียม เป็นภาชนะทำมาจากการหล่อและอัดแผ่นโลหะเป็นรูปร่างต่าง ๆ มีลักษณะแข็ง น้ำหนักเบา ทนต่อความร้อน การกัดกร่อน แตกหัก และสนิมได้

6. โฟม เป็นภาชนะทำมาจากเม็ดพลาสติกฟูหรือขยายตัวจนเกิดเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นตัวสูง น้ำหนักเบา ทนทานต่อการกระแทก และราคาถูก

7. เหล็ก เป็นภาชนะทำมาจากการแปรรูปโลหะที่ผ่านการถลุงด้วยความร้อนสูง แล้วนำมารีดให้เป็นแผ่นและขึ้นเป็นรูปทรง มีความแข็งแรงทนต่อการกระแทก และการกัดกร่อนได้ แต่มีน้ำหนักมาก

8. กระดาษ เป็นภาชนะทำมาจากเยื่อหรือเส้นใยของพืช มีความเหนียว น้ำหนักเบา มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับความหนาหรือบาง แข็งแรง และทนทานของกระดาษแต่ละประเภท
 
สาระน่ารู้อื่นๆ