ปริมาณอาหารกับการกินที่เหมาะสม

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    10,299    4    13 พ.ค. 2560 14:10 น.   
แบ่งปัน

เคยคิดไหมว่าการกินอาหารที่มากเกินไปนั้นอาจมีผลเสียต่อสุขภาพมากพอกับการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ได้เหมือนกัน เพราะต่อให้คุณเป็นคนที่ชื่นชอบกินผักผลไม้เป็นชีวิตจิตใจมากกว่าการเลือกกินแต่เนื้อสัตว์ก็ใช่ว่าจะมีอะไรต่างกันมากนัก เพราะยังไงร่างกายของมนุษย์ก็ยังคงต้องการคำว่าพอดี...

แต่ความหมายในคำว่าพอดี ณ ที่นี้ หมายถึง การเลือกอาหารที่มีครบทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ ในปริมาณที่อาจไม่เท่ากัน แต่สามารถสร้างความสมดุลของอาหารได้อย่างลงตัว รวมทั้งรสชาติอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องคำนึงถึงเช่นกัน ซึ่งหลักการเลือกรับประทานอาหารให้พอดี เพื่อที่จะได้ประโยชน์ที่ดีพอ มีดังนี้  

จัดการอาหารให้เหมาะสมต่อสัดส่วนการกิน
เริ่มต้นด้วยการกินอาหารที่ดี อย่างที่เรารู้ ๆ กัน ว่าการกินอาหารที่ถูกต้อง ต้องเริ่มจากการเลือกกินอาหารในหนึ่งมื้อให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งจากที่เอ่ยมาก็ใช่ว่าเราจะสามารถเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้อยู่ได้ในปริมาณที่เท่ากัน เพราะสารอาหารบางชนิดไม่จำเป็นต้องนำเข้าสู่ร่างกายมากจนเกินไปเนื่องจากอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี

สำหรับวิธีการเลือกกินอาหารทั้ง 5 ประเภทให้มีความพอดีทำได้ง่าย ๆ เริ่มจากการเลือก

อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง เผือก มัน รวมทั้งธัญพืชต่าง ๆ ต้องกินให้ได้ประมาณ 40% เนื่องจากเป็นสารอาหารหลักที่ช่วยสร้างพลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย

อาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่ เช่น พืชผักและผลไม้ต่าง ๆ ต้องกินให้ได้ประมาณ 30% เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ จึงเป็นประเภทอาหารที่ควรเลือกกินให้มากกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ

อาหารจำพวกโปรตีน ต้องกินให้ได้ประมาณ 20% เช่น นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ  ซึ่งโปรตีนจัดเป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ก็ควรเลือกกินวันละไม่เกิน 2 กรัม ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม

และอาหารพวกสุดท้ายคืออาหารจำพวกไขมัน ต้องกินให้ได้ประมาณ 10% เพราะอาหารที่มีไขมันถือเป็นประเภทอาหารที่ต้องจำกัดปริมาณมากที่สุด โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย ครีม ช็อกโกแลต และเค้กต่าง ๆ  รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน และขนมปังกรอบ เป็นต้น
 
 
สาระน่ารู้อื่นๆ