อันตรายจากผงกรอบ หรือ สารบอแรกซ์

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    28,426    34    27 ก.ค. 2559 : น.   
แบ่งปัน

ผงกรอบ... มีหลายชื่อตั้งแต่ น้ำประสานทอง หรือที่คนจีนเรียกเผ่งแซ ฝรั่งเรียกว่าบอแรกซ์ ผงกรอบเป็นสารอนินทรีย์สังเคราะห์ มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียม เตตราบอเรต (Sodium Tetraborate) โซเดียมบอเรต (Sodium Borate) มีลักษณะเป็นผลึกรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งขาวขุ่นคล้ายผงซักฟอก ละลายได้ดีในน้ำ และสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา หรือร้านขายของชำบางแห่ง ในรูปของการบรรจุถุงขาย โดยใช้ชื่อว่า แป้งกรอบ หรือผงกรอบ ในเอเชีย มีการแอบใช้ในอาหารบางชนิดจากจีนเช่นเส้นราเมงที่ใช้มือดึง เพื่อให้เส้นเหนียวกรอบ และในอินโดนีเซียและไทยมีการแอบเติมในลูกชิ้นเพื่อให้ลูกชิ้นเด้ง กรอบ ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีพิษต่อตับ ในประเทศไทย บอแรกซ์ได้ถูกกำหนดเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 ปริมาณที่ยอมรับตามข้อกำหนดทั่วไป สามารถใส่ผงกรอบได้ แต่ห้ามใส่เกิน 1 กรัม ในอาหาร 1 ตัน (1000 กิโลกรัม) แต่ผู้ผลิตปกติใส่เยอะกว่านี้มาก เลยเป็นอันตราย
 
บอแรกซ์ เป็นโทษต่อร่างกายได้ 2 ลักษณะ คือ

ตัวบอแรกซ์ จะเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับร่างกาย ไม่สลายตัว แต่ส่วนใหญ่จะถูกสะสมไว้ที่กรวยไต ทำให้เกิดการอักเสบได้

พิษของบอแรกซ์ ซึ่งสามารถฆ่าทำลายพืชและสัตว์ได้ ก็สามารถจะทำลายระบบทางเดินอาหารของเราได้เช่นเดียวกัน อาการที่แสดงออกจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารบอแรกซ์ ที่รับเข้าไปในร่างกาย และความสามารถของร่างกายในการขับถ่ายออกมา
ในรายที่บริโภคน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง จะเกิดระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ท้องร่วงบ่อยๆ น้ำหนักลด และอาการผื่นคันทางผิวหนัง
ในรายที่บริโภคครั้งละมากๆ อาจเกิดอาการเป็นพิษอย่างรุนแรงได้ เช่น อาเจียนออกมาเป็นเลือด ปวดท้อง ผิวหนังมีผื่นแดง หรืออาการช้ำเลือด ตัวเหลือง ไม่มีปัสสาวะ และหมดสติได้ สำหรับเด็กเล็กๆ พบว่าถ้าบริโภคเข้าไปเพียง 5 - 6 กรัม หรือสักช้อนชาพูนต่อครั้ง หรือในผู้ใหญ่เอง ถ้าบริโภคเกินกว่า 15 กรัมต่อครั้ง ก็จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

การใช้สารบอแรกซ์ผสมอาหารในปัจจุบัน
ผู้ผลิตอาหารและผู้ประกอบการบางรายใช้บอแรกซ์ผสมลงในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความเหนียว หรือกรุบกรอบ เช่น ลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน ผักกาดเค็ม มะม่วงดอง ผลไม้ดอง อาหารชุบแป้งทอดต่างๆ พวกถั่วทอด กล้วยทอด มันทอด อาหารหวานก็พบมีการใช้ผงกรอบเช่นกัน เช่น ลอดช่อง รวมมิตร ทับทิมกรอบ ขนมเบื้อง เป็นต้น

ใช้ในการปลอมปนในผงชูรสที่ตักแบ่งขาย บอแรกซ์ได้ถูกกำหนดเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 และมีบทลงโทษสำหรับผู้ผลิตอาหารที่ใส่บอแรกซ์ ให้ถือว่าผลิตจำหน่ายไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สาระน่ารู้อื่นๆ