กว่าจะเป็น “ถุงซักผ้าละลายน้ำ” สู้วิกฤตโควิด 19 “นวัตกรรมพร้อมใช้” เพราะไม่หยุดคิด
“การได้มาซึ่งนวัตกรรมอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนไอเดียสนุก ๆ ในวงเพื่อน แล้วนำมาจับกลุ่มชวนกันทำ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่น (Passion) เชื่อมั่นในประโยชน์ที่คนจะได้รับ แล้วหาวิธีการขยายไอเดีย ต่อยอดพัฒนา ลองผิดลองถูก จนเป็นสินค้า” สิรินทร์ ตันตรวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนการผลิต บริษัท พรีแพค ประเทศไทย จำกัด ใน SCGP
ท่ามกลางวิกฤตที่เมืองไทยยังต้
องเผชิญกับสถานการณ์โควิด 19 เราได้เห็นหลายภาคส่วนนำความเชี่
ยวชาญไปช่วยเหลือสังคม เช่นเดียวกันกับ “SCGP” ที่ได้ “ประยุกต์” และพัฒนานวัตกรรมที่
หลากหลายออกมาช่วยแก้ปั
ญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กั
บสังคม ซึ่ง “ผู้ที่ต้องสัมผัสเสื้อผ้าที่
ปนเปื้อนสารคัดหลั่งมีเชื้อโควิ
ด 19” เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่โรงซักผ้
าในโรงพยาบาล และบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาล เป็นอีกกลุ่มคนหนึ่งที่ต้องเผชิ
ญกับความเสี่ยงในสถานการณ์โควิด 19 นี้
“ถุงซักผ้าละลายน้ำ” นวัตกรรมจาก SCGP ที่คิดค้นขึ้นเพื่อช่วยให้ไม่ต้
องสัมผัสกับผ้าติดเชื้อโดยตรง แค่ผู้ใช้งานนำถุงที่ใส่ผ้าติ
ดเชื้อเข้าเครื่องซักผ้าที่มีอุ
ณหภูมิน้ำขณะซัก 65°C ขึ้นไป ถุงก็จะเริ่มละลายในน้ำภายใน 3-15 นาที (อัตราการละลายน้ำขึ้นอยู่กับอุ
ณหภูมิของน้ำ และการหมุนวนในเครื่องซักผ้า) จึงเป็นอีกนวัตกรรมทางเลือกหนึ่
งที่ช่วยปกป้องเจ้าหน้าที่ซักผ้
าไม่ต้องสัมผัสกับผ้าติดเชื้อ เพียงแค่ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดใส่
ไว้ในถุงผ้าเมื่อเต็มแล้ว ทางพยาบาลสามารถนำผ้าที่อยู่
ในถุงส่งต่อไปยังหน่วยบริ
การการซักผ้าได้ทันที
“นวัตกรรมที่ตอบโจทย์” ตั้งต้นจาก “ปัญหาของสังคม”
“พี่เบิร์ด” จุฑามาศ มหาเจริญสิริ นักวิจัย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ SCGP เล่าว่า ถุงซักผ้าละลายน้ำเกิดขึ้
นจากการเป็นคนช่างสังเกต เก็บทุกเสียงปัญหา และความต้องการของผู้ปฏิบัติ
งานที่โรงซักผ้าในโรงพยาบาล และนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สิ
นค้ามูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products & Services: HVA)
“พลาสติกพิเศษที่ผลิตจากพอลิ
ไวนิลแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ SCGP พัฒนาขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเราเห็นว่าสถานการณ์โควิด 19 เริ่มรุนแรงขึ้น จึงคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่เรามี
จะนำไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาให้กั
บสังคมได้อย่างไรบ้าง และไม่รอช้าที่จะลงสำรวจหน้างาน และพบว่ามีผู้ที่ทำงานซักผ้
าของโรงพยาบาล มีความเสี่ยงจากการหยิบผ้าที่
อาจมีเชื้อโควิด 19 ปนเปื้อนเข้าเครื่องซักผ้า ซึ่งโดยปกติการซักเสื้อผ้าเหล่
านี้ต้องใช้น้ำอุณหภูมิสู
งในการฆ่าเชื้อ ทำให้เรากลับมาพัฒนาเป็นถุงซั
กผ้าที่สามารถละลายในน้ำที่อุ
ณหภูมิที่สูงได้ โดยไม่ต้องเปิดปากถุงก่อนซัก”
จุฑามาศ ย้ำต่อว่า “ในฐานะนักวิจัยซึ่งได้ศึกษาเรื่
องพลาสติกมาตั้งแต่ต้นและพั
ฒนามาอย่างต่อเนื่อง เล็งเห็นว่าคุณสมบัติของพลาสติ
กที่สามารถละลายน้ำมีความเป็
นไปได้กับธุรกิจ ทำให้สามารถต่อยอดการคิดค้
นของเราให้เข้ากับสถานการณ์ได้
ทันที
“นวัตกรรม” จะเกิดขึ้นได้ต้อง “ไม่ล้มเลิก เมื่อล้มเหลว”
สิ่งที่เป็นความท้าทายของการสร้
างสรรค์นวัตกรรม คือ “สร้างการยอมรับ” ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้ทันทีในวั
นแรก ทีมงานต้องลองผิดลองถูก มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ แม้จะทำแล้วไม่เหมาะสม ใช้ไม่ได้ ลูกค้าไม่ตอบรับ แต่ก็ยังไม่หยุดคิด เดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จุฑามาศ เล่าว่า “เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยั
งไม่เคยใช้มาก่อน ฟันฝ่าความกังวลที่เต็มไปด้วยข้
อสงสัยและคำถาม ทีมจึงต้องรับฟัง เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข นำเสนอโดยการชูจุดแข็งของผลิตภั
ณฑ์ที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด ทำให้ต้องใช้เวลาให้ข้อมูลอธิ
บายวิธีการใช้แบบตัวต่อตัว และขยายให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูล เราจึงได้ทำคลิปวิดีโอการใช้
งานผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอน เพื่อเข้าไปศึกษาข้อมูลการใช้
งานได้อย่างละเอียดและชัดเจน จนสุดท้ายเกิดการยอมรับ เปิดใจใช้งานสิ่งใหม่ จนรู้ว่าถุงซักผ้าละลายน้ำนี้ช่
วยลดความเสี่ยง ตั้งแต่การประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการคัดแยก ลดโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อ ทำให้ผู้ใช้งานปลอดภัยจากการติ
ดเชื้อ อีกทั้งช่วยลดปริมาณขยะ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
“การพัฒนาโมเดลถุงผ้าละลายน้ำต้
นแบบ (Prototype) และนำไปแนะนำกับโรงพยาบาลครั้
งแรกในขณะที่ยังไม่เคยมีการใช้
มาก่อน ผู้ใช้งานย่อมเกิดความกังวล เราต้องมีผลการทดสอบคุณภาพน้ำทิ้
งหลังกระบวนการซักผ้า เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ทิ้
งสารตกค้างอันตรายใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมช่
วยยืนยัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้
ใช้งาน”
สิรินทร์ เล่าเสริม
“นวัตกรรมที่ทันใช้” ต้องคิดและพัฒนา “แข่งกับเวลา”
สิรินทร์ เล่าเพิ่มเติมว่า ภายใต้ข้อจำกัดของเวลา นวัตกรรมถุงซักผ้าละลายน้ำถูกพั
ฒนาขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นำมาใช้ได้ถูกที่ถูกเวลา นั่นเป็นเพราะเราไม่หยุดคิดค้
นสิ่งใหม่ พร้อมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มี
อยู่แล้ว ให้สามารถกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่
แก้ไขปัญหาและตอบความต้
องการของสังคมได้ทันที
เบื้องหลังความสำเร็
จของผลงานนวัตกรรมถูกที่ถูกเวลา ได้ใช้งานในช่วงวิกฤตนั้น เกิดจากการวางโครงสร้
างการทำงานให้เป็นหน่
วยทำงานขนาดเล็กตามความถนั
ดของแต่ละคน เพื่อให้การทำงานและการตัดสิ
นใจมีความคล่องตัว และรวดเร็ว โดยแบ่งเป็น 3 ทีม คือ 1.) ทีมศึกษาคุณสมบัติเม็ดพลาสติก กระบวนการผลิตและ/หรือทดสอบ ให้ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐาน 2.) ทีมศึกษาความต้องการของลูกค้า สร้างความน่าเชื่อถือและสร้
างการยอมรับในสินค้า และ 3.) ทีมช่องทางการจำหน่าย และจัดเตรียมบรรจุภัณฑ์ให้พร้
อมในการขายสินค้าได้อย่างทันที “การทำงานสำเร็จได้ เกิดจากความมุ่งมั่ง (Passion) ที่เชื่อว่า สิ่งที่ทำนั้นเกิดประโยชน์ต่อผู้
คน ซึ่งต้องเก็บทุกเสียงของลูกค้
ามาคิดและปรับปรุง แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากเป็นความต้องการของลูกค้
าก็ไม่ควรละเลย ที่สำคัญ เราต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่
ยนและยืดหยุ่นวิธีการทำงาน พร้อมเคลื่อนทัพให้ทันเวลา ทีมงานจึงต้องทำงานด้
วยความรวดเร็ว แบ่งทีมงานรับผิดชอบ และแบ่งปันข้อมูลกันตลอดเวลา เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ตอบโจทย์
และตรงใจลูกค้ามากที่สุด”
สิรินทร์ กล่าว
คุณสมบัติของถุงซักผ้า จึงช่วยเพิ่มประสิทธิ
ภาพในการทำงานจากเดิม แม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อชั่งน้ำหนักกับผลลัพธ์
จึงถือว่าคุ้มค่า เพราะเมื่อลำเลียงผ้าไปยังโรงซั
ก ก็พร้อมเข้าห้องซักได้ทันที
ช่วยลดการสัมผัสผ้าติดเชื้อ โดยเฉพาะการใส่ผ้าติดเชื้อลงในถุงโดยที่ไม่ต้องแกะอีกรอบ เป็นการช่วยลดการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในอากาศ และเมื่อลดการขั้นตอนการทำงาน จึงทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น
“ผู้ป่วยเปลี่ยนผ้า และพยาบาล ได้รวบรวมผ้าใส่ถุง ลงในถังวางไว้หน้าห้อง มีฝาปิดมิดชิด ถึงเวลาที่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ห้องผ้าก็รับผ้
าจากห้องผู้ป่วย (วอร์ด) มาใส่ถังเข้าสู่กระบวนการเข้
าเครื่องซักรีด การมีถุงผ้าละลายน้ำช่วยให้พนั
กงานที่มีความเสี่ยงรู้สึกอุ่
นใจและปลอดภัยขึ้น”
นวัตกรรม ไม่ใช่เรื่องใหญ่และเรื่องยาก เริ่มต้นด้วยการเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ เชื่อมโยงความต้องการกับจุดแข็งที่องค์กรมี “ชวนกันคิด ชวนกันทำ” โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผิดหรือจะถูก ไม่ล้มเลิกกลางคัน ก็เพียงพอที่จะทำให้เราค้นพบนวัตกรรมพร้อมใช้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง ทั้งในสถานการณ์ปกติและภายใต้สภาวะวิกฤต สอดคล้องกับหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) ที่เอสซีจีได้นำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารอื่นๆ ของเอสซีจีได้ที่ https://scgnewschannel.com / Facebook: scgnewschannel / Twitter: @scgnewschannel หรือ Line@: @scgnewschannel